ReadyPlanet.com
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 13 คน
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
dot

ราคาสินค้า
หมวดสินค้า
ยี่ห้อสินค้า

  [Help]
dot
สินค้าทั้งหมด
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
 ยาอม/ยาดม/ยาหม่อง
ควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนัก
ว่านหางจระเข้ Aloe Vera เจลว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้รักษาสิว ครีมว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้ทาหน้า สรรพคุณว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้พอกหน้า
ผลิตภัณฑ์สำหรับแม่และเด็ก
ให้เช่าพื้นที่โฆษณาโดยร้านขายยาคลีนิกยาเว็ปไซต์อันดับหนึ่งจัดอันดับโดย google.co.th


เราควรจะวัดความดันเมื่อไหร่บ้าง?

TAG : ร้านขายยาส่ง ขายส่งยา ร้านขายยา ยี่ปั๊วยา 

 

 

 

 

เราควรจะวัดความดันเมื่อไหร่บ้าง?

ที่มา: http://www.yaandyou.net

วัดความดันโลหิต1: ภาพจาก http://www.sciencephoto.com


1. เมื่อรู้สึกว่า มีอาการผิดปกติต่างๆ เช่น ปวดหัว วิงเวียน หน้ามืด ใจสั่น อ่อนเพลีย เป็นลม หมดสติ ปวดท้อง ตกเลือด บวมตามร่างกาย ท้องเดิน อาเจียนมากๆ หรือ ตามัว
2. เมื่อเป็นโรคเบาหวาน หรือ ต่อมธัยรอยด์โต (คอพอก)
3. เมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือร่าวกายได้รับบาดเจ็บ อาจพบความดันต่ำในคนที่มีอาการตกเลือดจนเกิดภาวะ “ช็อค”
4. ถึงแม้จะไม่มีอาการผิดปกติอะไรก็ควรจะตรวจวัดความดันเลือด ปีละ 1-2 ครั้ง โดยเฉพาะในคนที่มีอายุ มากกว่า 40 ปีขึ้นไป เพราะคนที่เป็นความดันเลือดสูง บางครั้งอาจไม่มีอาการอะไรมากก่อนเลยก็ได้


ขั้นตอนการวัดความดันโลหิต


1. นั่ง หรือ นอนพัก ให้สบาย หายตื่นเต้น ประมาณ 5-10 นาที
2. - วัดความดันท่านอน ให้นอนหงาย วางแขนขนานกับลำตัวตามสบาย หงายฝ่ามือขึ้น
    - วัดความดันท่านั่ง นั่งบนเก้าอี้ วางแขนที่จะวัดบนโต๊ะ หงายฝ่ามือขึ้น ท่านี้สะดวกในการวัดความดันด้วยตัวเอง
3. วางเครื่องวัดความดัน ให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ หันหน้าปัทม์ที่อ่านให้อยู่ในระดับเดียวกับสายตา ไม่ควรวางไกลเกิน 3 ฟุต
4. พันผ้ารอบแขน โดยจับปลายด้านที่มีสายยาง วางบนแขนด้านชิดกับลำตัว แล้วจึงพันส่วนที่เหลือไปเรื่อยๆ จนรอบแขน ให้ขอบล่างของผ้าพันแขน อยู่เหนือข้อศอกประมาณ 2 นิ้ว กรณีที่สวมเสื้อมีแขน ให้พับแขนเสื้อข้างนั้นขึ้นเหนือข้อศอก ประมาณ 5 นิ้ว ก่อนพันผ้าพันแขน
5. กดปุ่ม START/STOP บนเครื่องวัดความดัน รอจนตัวเลขหยุดลงแล้วจึงอ่านค่า
6. ภายหลังที่วัดความดันครั้งแรก แล้ว เพื่อความแน่นอนให้วัดซ้ำดูอีกครั้ง โดยเฉพาะถ้าพบว่า ความดันสูงหรือต่ำกว่าปกติ 


วัดความดันโลหิต2: ภาพจาก http://www.sciencephoto.com         

โดยปกติแล้วการวัดค่าความดันโลหิตจะแสดงผลออกมา 2 ค่า บันทึกค่าเป็นสัดส่วน เช่น 130/80 mmHg
Systolic คือ ตัวเลขตัวบนซึ่งมีค่ามากกว่า เป็นการวัดค่าความดันของหลอดเลือดแดงในขณะที่หัวใจบีบตัว
Diastolic คือ ตัวเลขตัวล่างซึ่งมีค่าน้อยกว่า เป็นการวัดค่าความดันในหลอดเลือดแดงในขณะที่หัวใจคลายตัว
Pulse rate คือ อัตราการเต้นของหัวใจใน 1 นาที


          ค่าความดันโลหิตของเด็กจะขึ้นอยู่กับอายุ เพศ และส่วนสูง โดยสามารถแบ่งตามช่วงอายุได้ ดังนี้

 

ค่าความดันโลหิต 

อายุ 3-5 ปี

อายุ 6-9 ปี  

อายุ 10-12 ปี

Systolic (ตัวบน)  

104-116 mmHg   

108-121 mmHg  

114-127 mmHg

Diastolic (ตัวล่าง) 

63-74 mmHg    

71-81 mmHg

77-83 mmHg

      


           ค่าความดันโลหิตของผู้ใหญ่ สามารถแปลผลได้ ดังนี้

 

 ค่าความดันโลหิต  

 ปกติ

 ระยะก่อนที่จะเป็นความดันโลหิตสูง

 ความดันโลหิตสูง ระยะที่ 1

 ความดันโลหิตสูง ระยะที่ 2

 Systolic (ตัวบน)

 น้อยกว่า 120 mmHg

 120-139 mmHg 

 140-159 mmHg  

สูงกว่า 160 mmHg

 Diastolic (ตัวล่าง)

 น้อยกว่า 80 mmHg

 80-89 mmHg 

 90-99 mmHg

สูงกว่า 100 mmHg


          หากวัดความดันโลหิตแล้วอยู่ในช่วงที่สูงกว่าค่าปกติเพียงครั้งเดียว จะยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่หากมีการวัดความดันโลหิต 3 ครั้ง ในโอกาสที่แตกต่างกันแล้วยังได้ค่าที่สูงกว่าปกติทั้ง 3 ครั้ง ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาต่อไป
          หากวัดความดันโลหิตแล้วอยู่ในช่วงที่ต่ำกว่าค่าปกติ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ แต่หากความดันต่ำมาก โดยค่าตัวบน-ตัวล่างต่างกันน้อยกว่า 30 (เช่น 80/60 ค่าต่างกัน 20) ควรรีบนำเด็กส่งโรงพยาบาลโดยด่วน


เอกสารอ้างอิง
1.    Heather Vale Goss. Normal Blood Pressure Range for Children. Last modified: March 4, 2011. [cited in 4 March 2013], Available from URL; 
Normal Blood Pressure Range for Children
2.    U.S. DEPARTMENT OF HEALTH AND HUMAN SERVICES. The Seventh Report of the Joint National Committee on Prevention, Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood Pressure, 2004.
 




คลินิกสุขภาพ

ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า
วิตามินช่วยเรื่องการนอน
เซ็กส์ครั้งแรกฟินหรือเจ็บ
ทำไมต้องวอร์มร่างกายก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง?
ใส่หน้ากากอนามัยอย่างไร จึงจะเรียกว่าป้องกันได้ถูกต้อง
3 สาเหตุ ที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้
เหตุผลที่ควรดูแลสายตาของลูกช่วงก่อนอายุ8-9ปีเป็นพิเศษ
รู้ทัน อาการนอนไม่หลับ อันตรายกว่าที่คิด
ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้มอร์ฟีน
ข้อเท็จจริง 8 ข้อเกี่ยวกับมะเร็งผิวหนังที่ไม่ค่อยมีใครรู้
ลูกร้องไม่หยุดทำไง?! 5 วิธีปราบโคลิคให้ทารกอย่างได้ผล
วิธีออกกำลังแล้วไม่เหนื่อย และดีต่อสุขภาพ
ความรู้เรื่องการทำหมันหญิง
การป้องกันการล้มในผู้สูงอายุ (Falls prevention in elderly)
7 คุณประโยชน์จากส้ม
เหตุผลที่จำเป็นทาครีมกันแดดทุกวัน
ความจริงเกี่ยวกับ ซุปไก่สกัด
ข้อดีและข้อเสียของเครื่องดื่มชูกำลัง
การป้องกันท้องผูกในผู้สูงอายุ (Prevention of elderly constipation)
ซิงค์ คืออะไร



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล