ReadyPlanet.com
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 16 คน
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
dot

ราคาสินค้า
หมวดสินค้า
ยี่ห้อสินค้า

  [Help]
dot
สินค้าทั้งหมด
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
 ยาอม/ยาดม/ยาหม่อง
ควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนัก
ว่านหางจระเข้ Aloe Vera เจลว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้รักษาสิว ครีมว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้ทาหน้า สรรพคุณว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้พอกหน้า
ผลิตภัณฑ์สำหรับแม่และเด็ก
ให้เช่าพื้นที่โฆษณาโดยร้านขายยาคลีนิกยาเว็ปไซต์อันดับหนึ่งจัดอันดับโดย google.co.th


การใช้สารกระตุ้นน้ำนมในการเริ่มต้นการให้นมแม่

 

 

 

 
 

 

 
 
พญ.ยุรี ยานาเซะ หน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ กลุ่มงานสูตินรีเวชศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี

Galactogogues คือ ยา หรือ สารอื่นๆ ที่เชื่อว่าช่วยเริ่มต้นการสร้างน้ำ นม รักษาปริมาณน้ำนมให้มีมาก อยู่เป็นเวลานานหรือช่วยในการกระตุ้นการสร้างน้ำนม เนื่องจากการมีปริมาณน้ำนมน้อยเป็นสาเหตุหลักที่ทำ ให้ แม่ส่วนใหญ่หยุดการให้นมแม่ (1) ทั้งตัวคุณแม่เองและแพทย์ผู้ดูแลต่างเสาะแสวงหายาหรือสารที่ช่วยในการแก้ไข ปัญหานี้ การสร้างและการหลั่งน้ำนมเป็นการทำงานประสานกันของปัจจัยทางสรีระวิทยา อารมณ์ และการทำ งาน ของฮอร์โมนหลายชนิด ฮอร์โมนที่เชื่อว่ามีผลต่อการสร้างน้ำนมมากที่สุดคือ prolactin เมื่อมีการคลอดรกระดับ ฮอร์โมน progesterone ลดต่ำลงทำ ให้การสร้างน้ำนมเริ่มต้นขึ้น (lactogenesis II)(2,3) โดยการทำ งานร่วมกัน ของสมองส่วน hypothalamus และ anterior pituitary gland มีการยับยั้ง dopamine agonists และ dopamine antagonists เพิ่มขึ้น ระดับ prolactin เพิ่มสูงขึ้นเป็นผลให้มีการสร้างน้ำนม (endocrine control) หลังจากนั้นระดับ prolactin จะลดลงเรื่อยๆ แต่การสร้างน้ำนมจะยังคงอยู่เนื่องจากถูกกระตุ้นจากการดูดนม ของลูก (autocrine control)(4) จึงสรุปได้ว่าการเพิ่มขึ้นของระดับ prolactin มีความจำ เป็นในการเพิ่มปริมาณ น้ำนม แต่ไม่จำ เป็นในการรักษาการสร้างน้ำนมไว้ให้คงอยู่ ถ้าน้ำนมไม่ถูกดูดหรือปั๊มจนเกลี้ยงเต้าอย่างสม่ำเสมอ จะทำ ให้ปริมาณน้ำนมลดลง ในทางกลับกันการที่น้ำนมเกลี้ยงเต้าอย่างสม่ำเสมอจะทำ ให้ปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้น การดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 วันแรกหลังทารกเกิดเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการกระตุ้นน้ำนม ดังนั้นในการเริ่มใช้สารกระตุ้นน้ำนมจะมีข้อบ่งชี้เมื่อประเมินและแก้ไขสาเหตุที่สามารถแก้ไขได้ (เช่น การรักษา ภาวะไทรอยด์บกพร่อง หรือ การหยุดยาที่ยับยั้งการสร้างน้ำนม)(5-7) และเพิ่มความถี่ของการดูดนมหรือปั๊มนม แล้วไม่ประสบความสำ เร็จเท่านั้น ข้อบ่งชี้ในการใช้สารกระตุ้นน้ำนม
 
ข้อบ่งชี้ในการใช้สารกระตุ้นน้ำนมส่วนใหญ่คือ
กระตุ้นให้เกิดการสร้างน้ำนมโดยที่หญิงนั้นไม่ได้ตั้งครรภ์ (adoptive nursing), ทำ ให้เกิดการสร้างน้ำนมขึ้นมาใหม่หลังจากหย่านมไปแล้ว (relactation)(8) และเพิ่มการ สร้างน้ำนมในกรณีที่แม่กับลูกแยกจากกัน แม่ที่ไม่ได้ให้ลูกดูดนมแต่ปั๊มนมด้วยมือหรือใช้เครื่องปั๊มมักประสบ ปัญหาน้ำนมมีปริมาณลดลงภายใน 2-3 สัปดาห์ ข้อบ่งชี้ที่พบบ่อยที่สุดคือการเพิ่มปริมาณน้ำนมในแม่ที่คลอด ก่อนกำ หนดหรือทารกป่วยต้องได้รับการรักษาในหออภิบาลทารกวิกฤต
 
 
ขั้นตอนการเพิ่มปริมาณน้ำนม
1. ก่อนการให้ยาหรือสารกระตุ้นน้ำนม ควรทำการประเมิน ปริมาณน้ำนมในขณะนั้น ประสิทธิภาพการดูดนมของลูก ความถี่ของการให้ลูกดูดนมแม่ หลังดูดเต้านมนุ่มลงหรือไม่ (แสดงถึงการดูดเกลี้ยงเต้า) ให้ข้อมูล เพื่อให้แม่เห็นความสำคัญของการเพิ่มความถี่และระยะเวลาในการให้ลูกดูดนมแม่ (ในกรณีที่ทารกสามารถดูดนม ได้ดีจนเกลี้ยงเต้า) หรือเพิ่มความถี่ของการปั๊ม แนะนำ ให้แม่ใช้เครื่องปั๊มอัตโนมัติแบบครบวงที่สามารถปั๊มได้สอง เต้าพร้อมกัน (hospital grade) ประเมินปัญหาอื่นๆ ที่พบบ่อย เช่น การให้อาหารเสริมแก่ทารกอย่างไม่เหมาะ สม แม่กับลูกแยกจากกัน ทารกอมหัวนมไม่ถูกต้องหรือดูดนมไม่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น(9)
 
2. แม่ควรได้รับข้อมูลเกี่ยวกับ ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้สารกระตุ้น น้ำนม ในรายที่เป็น adoptive nursing เท่านั้นที่แนะนำ ให้เริ่มสารกระตุ้นน้ำนมตั้งแต่ทารกยังไม่เกิด ยังไม่มีการ ศึกษาที่พบว่าการให้สารกระตุ้นน้ำนมตั้งแต่สัปดาห์แรกหลังคลอดมีประสิทธิภาพในการเพิ่มน้ำนม
 
3. แม่ควรได้รับการคัดกรองข้อห้ามในการใช้สารกระตุ้นน้ำนม และควรได้รับข้อมูลเกี่ยงกับผลข้างเคียงที่ อาจเกิดขึ้นได้
 
4. นัดตรวจติดตามในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยประเมินปริมาณน้ำนมและผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ สารกระตุ้นน้ำนม
 
5. สารกระตุ้นน้ำนมส่วนใหญ่มีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ในระยะสั้น 1-3 สัปดาห์ จากรายงานยังไม่พบผล ข้างเคียงจากสารกระตุ้นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น metoclopramide, domperidone, fenugreek (ลูกซัด/ยาประสระน้ำนม) การใช้ในระยะยาวยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอถึงผลต่อแม่และลูก
 
สารกระตุ้นน้ำนม ยา อาหาร และสมุนไพรหลายชนิดได้รับการแนะนำ ให้ใช้เป็นสารกระตุ้นน้ำนม ยาส่วนใหญ่ออกฤทธิ์โดย ยับยั้งที่ dopamine receptors ทำ ให้มีการเพิ่มของระดับ prolactin แต่ยังมีสารหลายชนิดที่ไม่ทราบกลไกใน การออกฤทธิ์
 
Metoclopramide
 
Metoclopramide เป็นยาที่มีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้(10) และได้รับความนิยมมากที่สุดในการกระตุ้น น้ำนม(11) กลไกในการออกฤทธิ์เกิดจากการยับยั้งการหลั่ง dopamine ในระบบประสาทส่วนกลางทำ ให้ระดับ prolactin เพิ่มสูงขึ้น(12-17) ยาชนิดนี้ใช้ในการรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน และนิยมใช้รักษาภาวะกรดไหลย้อนใน เด็ก แม้ว่าระดับยาในน้ำนมสูงกว่าระดับในกระแสเลือดของแม่ แต่กลับพบว่าระดับยาในกระแสเลือดของทารก ต่ำมากและต่ำกว่าระดับยาที่ใช้ในการรักษา นอกจากนี้ยังไม่พบว่ามีรายงานผลข้างเคียงในทารก(15,18,19) ไม่พบ ว่ายามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของนมแม่อย่างมีนัยสำคัญ(20) หลายการศึกษาพบว่ายามีประสิทธิภาพ ในการช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนม(12, 21-23)
 
อาการข้างเคียงที่มีรายงานว่าพบในแม่ เช่น กระสับกระส่าย ง่วง อ่อนเพลีย และถ่ายเหลว อาการมักไม่ รุนแรงจนต้องหยุดยา ควรแนะนำ ให้หยุดยาในรายที่มี extrapyramidal side effects เช่น นอนไม่หลับ ปวด ศีรษะ สับสน เวียนศีรษะ ซึมเศร้า หรือ หวาดระแวง หากพบว่ามีการตึงตัวของกล้ามเนื้อผิดปกติอย่างเฉียบพลัน (acute dystonic reactions) ซึ่งพบได้น้อยกว่าร้อยละ 0.05 ของผู้ที่ใช้ยานี้ อาจมีความจำ เป็นต้องรักษาด้วย diphenhydramine ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ป่วย โรคลมชักหรือใช้ยากันชัก โรคซึมเศร้าหรือใช้ยารักษาภาวะซึมเศร้า โรค pheochromocytoma โรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ไม่ดี มีเลือดออกในลำ ไส้หรือลำ ไส้ อุดตัน และห้ามใช้ในคนที่แพ้ยา metoclopramide(24,25)
 
ขนาดยาที่แนะนำคือ 30-45 มก.ต่อวัน แบ่งให้ 3-4 ครั้งต่อวัน ประสิทธิภาพการเพิ่มปริมาณน้ำนมเพิ่มตามขนาดยาจนถึงระดับ 45 มก.ต่อวัน ระยะเวลาที่ให้ยาเต็มขนาดประมาณ 7-14 วัน จากนั้นลดขนาดยาลง เรื่อยๆ ใน 5-7 วัน(14) การใช้ในระยะเวลายาวนานอาจเพิ่มอุบัติการของภาวะซึมเศร้า หากพบว่าปริมาณน้ำนมลด ลงมากเมื่อลดขนาดยาอาจพิจารณาให้ยาขนาดต่ำที่สุดที่สามารถรักษาระดับน้ำนมไว้ได้และใช้ในระยะเวลานาน ขึ้น ผู้เชี่ยวชาญบางท่านแนะนำ ให้ค่อยๆ เพิ่มขนาดยาขึ้นเรื่อยเมื่อเริ่มใช้ยา(26)
 
Domperidone
 
Domperidone มีกลไกยับยั้ง dopamine ใช้ในการรักษากรดไหลย้อนและอาการคลื่นไส้อาเจียน เนื่องจาก ยาผ่าน blood-brain barrier น้อยกว่าจึงมี extrapyramidal side effects และผ่านไปยังน้ำนมน้อยกว่า metoclopramide ยา domperidone ทำ ให้ระดับ prolactin ในเลือดสูงขึ้นแม้จะใช้ในหญิงที่ไม่ตั้งครรภ์(27, 28) เป็นสารกระตุ้นน้ำนมชนิดเดียวที่มี randomized controlled trial(24,29) พบว่ามีประสิทธิภาพและมีความ ปลอดภัยในการใช้เพิ่มปริมาณน้ำนม(30,31)
 
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ ปากแห้ง ปวดศีรษะ (อาการมักจะดีขึ้นเมื่อลดขนาดยา) และอาการปวดเกร็ง ท้อง(24,30) การใช้ยาในขนาดสูงเป็นเวลานานในหนูทดลองพบว่ามีอุบัติการของเนื้องอกเต้านมมากขึ้นแต่ไม่พบ รายงานในมนุษย์ domperidone มีข้อห้ามใช้ใน คนที่แพ้ยา และในภาวะที่การกระตุ้นลำ ไส้อาจทำ ให้เกิดอันตราย เช่น เลือดออกในทางเดินอาหาร ลำ ไส้อุดตัน หรือลำ ไส้ทะลุ องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (USFDA) มีคำ เตือนเกี่ยวกับการใช้ยาชนิดที่ให้ทางหลอดเลือดดำ ไม่พบว่าการใช้ยาชนิดรับประทานมีผลเสียต่อแม่และลูก(25)
 
ขนาดยาที่แนะนำคือ 10-20 มก. 3-4 ครั้งต่อวัน นาน 3-8 สัปดาห์ จะพบการตอบสนองภายหลังใช้ยา 3-4 วัน แต่ในบางรายอาจพบการตอบสนองใน 24 ชั่วโมง และในบางรายอาจต้องใช้เวลานาน 2-3 สัปดาห์ จึงจะ เห็นผลเต็มที่
 
Sulpiride และ Chlorpromazine Sulpiride
 
เป็นยารักษาโรคจิต (neuroleptic) ทำ ให้ระดับ prolactin เพิ่มขึ้น โดยไปเพิ่ม prolactinreleasing hormone จาก hypothalamus(32,33) จากการศึกษาพบว่าสามารถเพิ่มปริมาณน้ำนมเมื่อเทียบกับยา หลอก(34-37)
 
ผลข้างเคียงพบ extrapyramidal side effects เช่นเดียวกันกับ metoclopramide และอาจพบว่า มีน้ำหนักตัวเพิ่ม มีรายงานจากจิตแพทย์ว่าพบน้ำนมไหลในผู้ป่วยทั้งเพศหญิงและเพศชายที่ใช้ยา chlorpromazine(38-40) ขนาดยาที่แนะนำคือ 50 มก. 2-3 ครั้งต่อวัน มีรายงานว่าการใช้ยาขนาด 25 มก. 3 ครั้งต่อวัน สามารถ เพิ่มปริมาณน้ำนมได้ภายหลังใช้ยานาน 1 สัปดาห์(38)
 
Human Growth Homone
 
มีการศึกษา randomized, double-blind, placebo-controlled trial โดยใช้ human growth hormone ขนาด 0.1 international unit/kg/day ฉีดใต้ผิวหนัง พบว่าสามารถเพิ่มปริมาณน้ำนมได้อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติหลังจากใช้ยานาน 7 วันในแม่สุขภาพดีจำ นวน 16 ราย ไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบ ของน้ำนมและไม่พบผลข้างเคียงในแม่ การใช้ยานี้ยังไม่เป็นที่นิยมและมีราคาแพง
 
Thyrotrophin-Releasing Hormone (TRH)
 
กลไกในการออกฤทธิ์จะกระตุ้นการหลั่ง thyroid-stimulating hormone (TSH) และ prolactin จากต่อมใต้สมอง(41) การศึกษาล่าสุดพบว่าการใช้ในระยะสั้นมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ การใช้ในระยะยาว ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ ขนาดยาที่มีในการศึกษาคือ พ่นจมูก (1 มก.TRH) 4 ครั้งต่อวัน หรือฉีดเข้าทางหลอดเลือด ดำ 200 ไมโครกรัม หรือชนิดรับประทาน 5 มก. การใช้ยานี้ไม่ได้รับความนิยม(42-44)
 
Herbal / Natural Galactogogues
 
การใช้สมุนไพรในการกระตุ้นน้ำนมเป็นที่นิยมทั่วโลก ส่วนใหญ่ของสมุนไพรเหล่านี้ไม่ผ่านการประเมินทาง วิทยาศาสตร์ แต่มีการใช้อย่างแพร่หลายตามค่านิยมและวัฒนธรรมท้องถิ่น จากการใช้มาเป็นเวลานานไม่พบว่ามี อันตรายและมีประสิทธิภาพดีโดยไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์ สมุนไพรที่มักได้รับความนิยมในการเพิ่มปริมาณ น้ำนม เช่น Fenugreek (ลูกซัด/ยาประสระน้ำนม), Goat’s rue/French lilac (หญ้าชนิดหนึ่งพบในแถบ ตะวันออกกลาง ยุโรป เอเชียตะวันตก และ ปากีสถาน), Milk thistle/Blessed thistle/Silymarin (ไม้ดอกพบ ในแถบเมดิเตอเรเนียน), ผักชีหรือยี่หร่า, ใบโหระพา, Fennel seeds (เมล็ดเทียนข้าวเปลือก), Marshmallow (สมุนไพรยุโรป ใช้ประโยชน์จากส่วนใบและราก) และอื่นๆ ในบางท้องถิ่นพบว่ามีการดื่มเบียร์เพื่อเพิ่มปริมาณ น้ำนม แต่จากการศึกษายังไม่พบว่ายีสต์ในเบียร์มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นน้ำนม
 
ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรในการกระตุ้นน้ำนมคือ สมุนไพรและอาหารเสริมบางชนิดขาดการประเมิน อย่างละเอียดจากองค์การอาหารและยาซึ่งต่างจากการใช้ยา สมุนไพรบางชนิดอยู่ในรูปสารสกัดซึ่งไม่ทราบส่วน ประกอบที่ชัดเจน การใช้สมุนไพรโดยไม่ทราบแหล่งที่มาอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะได้รับสารปนเปื้อนที่อาจเป็นพิษ นอกจากนี้ยังไม่มีขนาดการใช้ที่เป็นมาตรฐาน
 
Fenugreek (Trigonella foenum-graecum)
 
เป็นพืชในตระกูลถั่ว ชื่อในภาษาไทย คือ “ลูกซัด” เป็น ส่วนประกอบของอาหารมุสลิมหรืออาจอยู่ในรูปของ “ยาประสระน้ำนม” เป็นสมุนไพรที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในการกระตุ้นน้ำนม แหล่งที่ปลูกอยู่ในแถบอินเดียและตะวันออกกลาง ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์มีการใช้ สมุนไพรชนิดนี้เป็นเครื่องเทศและยามานานนับพันปี ขนาดที่แนะนำ ในการใช้คือ 1-4 แคปซูล (580-610 มก.) 3-4 ครั้งต่อวัน เป็นขนาดที่นิยมใช้ทั่วไปแต่ยังไม่เป็นมาตรฐาน อาจมีความจำ เป็นต้องใช้ขนาดที่สูงกว่านี้ในกรณี relactating หรือ adoptive nursing หรืออาจดื่มในรูปชา (ใช้เมล็ด ¼ ช้อนชาแช่ในน้ำร้อน 8 ออนซ์ นาน 10 นาที) ดื่ม 3 ครั้งต่อวัน จากการศึกษาในแม่ที่ใช้สมุนไพรนี้ 1,200 คน พบว่าปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นภายใน 24-72 ชั่วโมง อาการข้างเคียงพบได้น้อย ที่มีรายงาน เช่น เหงื่อ น้ำนม และปัสสาวะมีกลิ่น คล้าย maple, ถ่ายเหลว, และอาการของโรคหอบหืดรุนแรงขึ้น ไม่แนะนำการใช้ในระหว่างการตั้งครรภ์เนื่องจากมีฤทธิ์กระตุ้นการหดรัดตัว ของมดลูก เนื่องจากพบว่าสมุนไพรชนิดนี้มีฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดจึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง(45)
 
Goat’s rue (Galega officinalis)
 
เป็นสารกระตุ้นน้ำนมที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในแถบยุโรป เริ่มต้น การใช้ในปีคริสตศักราช 1900 เนื่องจากพบว่าหลังจากให้เป็นอาหารแก่วัวแล้วพบว่าวัวมีปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้น ยังไม่มีการศึกษาที่ได้รับการรับรองและไม่พบว่ามีรายงานผลข้างเคียงในมนุษย์(46) แต่พบว่าแม่ 2 รายที่ใช้ในรูปชา ซึ่งมีส่วนผสมของ Licorice (ชะเอม), Fennel seeds (เมล็ดเทียนข้าวเปลือก), Anise seed, และ Goat’s rue มีอาการ ง่วง, เซื่องซึม, กล้ามเนื้อตึงตัวน้อย (hypotonia), เฉื่อยชา, อาเจียน และ ทารกดูดนมน้อยลง โดยตรวจ ไม่พบสาเหตุที่เกี่ยวกับการติดเชื้อ อาการเหล่านี้หายไป 2 วันหลังหยุดดื่มชาและงดการให้นมแม่ แต่ไม่ได้มีการ ทดสอบการปนเปื้อนของชา นอกจากนี้ไม่มีรายงานผลข้างเคียงทั้งในยุโรปและอเมริกาใต้ซึ่งมีการใช้เพื่อลดระดับ น้ำตาลในเลือด นิยมดื่มในรูปชา ขนาดที่ใช้คือ ใบแห้ง 1 ช้อนชาแช่ในน้ำร้อน 8 ออนซ์ นาน 10 นาที ดื่มครั้งละ 1 ถ้วย 3 ครั้งต่อวัน(47)
 

Milk thistle (Silybum marianum)
 
ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในยุโรป แต่ยังไม่มีการศึกษารับรอง รู้จักกันในชื่อ “St. Mary’s thistle” เพื่อเป็นเกียรติแก่ Virgin Mary เนื่องจากชาวคริสต์เชื่อว่าสีขาวที่พบบนใบ เป็นสัญลักษณ์แทนน้ำนมของนาง โดย American Herbal Products Association จัดให้สมุนไพรชนิดนี้อยู่ใน กลุ่มที่ 1 ซึ่งหมายถึง สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยเมื่อใช้ในขนาดที่เหมาะสมและไม่มีข้อห้ามในระหว่างให้นมแม่ นิยมใช้ในรูปชา ขนาดที่ใช้คือ เคี่ยวเมล็ดที่บดแล้ว 1 ช้อนชาในน้ำ 8 ออนซ์ นาน 10 นาที ดื่ม 2-3 ถ้วยต่อวัน(48,49)
 

 

ในการใช้สารชนิดต่างๆเพื่อเริ่มต้นการให้นมแม่ รักษาปริมาณน้ำนม หรือ เพิ่มปริมาณการสร้างน้ำนม โดย การใช้ยา domperidone หรือ metoclopramide พบว่ามีประโยชน์มากในการใช้ทางคลินิก ก่อนการใช้สาร กระตุ้นน้ำนมทุกครั้งจะต้องผ่านการประเมินและแก้ไขปัจจัยที่สามารถแก้ไขได้ เช่น ความถี่ของการดูดนมและ การดูดนมจนเกลี้ยงเต้า การใช้ยาไม่สามารถแทนที่การประเมินและการให้คำแนะนำ เพื่อแก้ไขปัจจัยเหล่านี้ เมื่อ มีการสั่งยาไปแล้วจะต้องมีการนัดเพื่อติดตามผลข้างเคียงทั้งในแม่และลูก References

 

 
1. Olang B, Heidarzadeh A, Strandvik B, Yngve A. Reasons given by mothers for discontinuing breastfeeding in Iran. Int Breastfeed J 2012;7:7.
2. Neville MC, Morton J, Umemura S. Lactogenesis. The transition from pregnancy to lactation. Pediatr Clin North Am 2001;48:35-52.
3. Convey EM. Serum hormone concentrations in ruminants during mammary growth, lactogenesis, and lactation: a review. J Dairy Sci 1974;57:905-17.
4. De Coopman J. Breastfeeding after pituitary resection: support for a theory of autocrine control of milk supply? J Hum Lact 1993;9:35-40.
5. Dickson EK, Post CW. Breast engorgement in non-nursing mothers following administration of estrogencontaining lactation suppressant medication. Issues Health Care Women 1981;3:71-80.
6. Eichner E, Brown M, Sable M. Suppression of lactation with single-dose hormone medication. J Int Coll Surg 1959;32:394-9.
7. Mazzola VP, Mazzola NJ. Suppression of lactation; a report of 1591 cases of medication following parturition. Med Times 1952;80:151-3.
8. Sakumoto S, Cotrim AE, Simoes MJ, Baracat EC. [Metoclopramide action on the mammary glands of albino rats in lactation or in early weaning: morphological study]. Rev Paul Med 1990;108:257-60.
9. Sakha K, Behbahan AG. Training for perfect breastfeeding or metoclopramide: which one can promote lactation in nursing mothers? Breastfeed Med 2008;3:120-3. 10. Akus M, Bartick M. Lactation safety recommendations and reliability compared in 10 medication resources. Ann Pharmacother 2007;41:1352-60.
11. Rimar JM. Metoclopramide for enhancing lactation. MCN Am J Matern Child Nurs 1986;11:93.
12. Brown TE, Fernandes PA, Grant LJ, Hutsul JA, McCoshen JA. Effect of parity on pituitary prolactin response to metoclopramide and domperidone: implications for the enhancement of lactation. J Soc Gynecol Investig 2000;7:65-9.
13. Guzman V, Toscano G, Canales ES, Zarate A. Improvement of defective lactation by using oral metoclopramide. Acta Obstet Gynecol Scand 1979;58:53-5.
14. Hansen WF, McAndrew S, Harris K, Zimmerman MB. Metoclopramide effect on breastfeeding the preterm infant: a randomized trial. Obstet Gynecol 2005;105:383-9. 15. Kauppila A, Anunti P, Kivinen S, Koivisto M, Ruokonen A. Metoclopramide and breast feeding: efficacy 
 

 TAG : ร้านขายยาส่ง  เปิดร้านขายยา ขายส่งยา ซื้อยาราคาส่ง ขายยาส่ง  




คลินิกสุขภาพ

ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า
วิตามินช่วยเรื่องการนอน
เซ็กส์ครั้งแรกฟินหรือเจ็บ
ทำไมต้องวอร์มร่างกายก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง?
ใส่หน้ากากอนามัยอย่างไร จึงจะเรียกว่าป้องกันได้ถูกต้อง
3 สาเหตุ ที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้
เหตุผลที่ควรดูแลสายตาของลูกช่วงก่อนอายุ8-9ปีเป็นพิเศษ
รู้ทัน อาการนอนไม่หลับ อันตรายกว่าที่คิด
ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้มอร์ฟีน
ข้อเท็จจริง 8 ข้อเกี่ยวกับมะเร็งผิวหนังที่ไม่ค่อยมีใครรู้
ลูกร้องไม่หยุดทำไง?! 5 วิธีปราบโคลิคให้ทารกอย่างได้ผล
วิธีออกกำลังแล้วไม่เหนื่อย และดีต่อสุขภาพ
ความรู้เรื่องการทำหมันหญิง
การป้องกันการล้มในผู้สูงอายุ (Falls prevention in elderly)
7 คุณประโยชน์จากส้ม
เหตุผลที่จำเป็นทาครีมกันแดดทุกวัน
ความจริงเกี่ยวกับ ซุปไก่สกัด
ข้อดีและข้อเสียของเครื่องดื่มชูกำลัง
การป้องกันท้องผูกในผู้สูงอายุ (Prevention of elderly constipation)
ซิงค์ คืออะไร