ReadyPlanet.com
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 28 คน
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
dot

ราคาสินค้า
หมวดสินค้า
ยี่ห้อสินค้า

  [Help]
dot
สินค้าทั้งหมด
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
 ยาอม/ยาดม/ยาหม่อง
ควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนัก
ว่านหางจระเข้ Aloe Vera เจลว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้รักษาสิว ครีมว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้ทาหน้า สรรพคุณว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้พอกหน้า
ผลิตภัณฑ์สำหรับแม่และเด็ก
ให้เช่าพื้นที่โฆษณาโดยร้านขายยาคลีนิกยาเว็ปไซต์อันดับหนึ่งจัดอันดับโดย google.co.th


ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้มอร์ฟีน

5555555555555555555555555555555555555555555555555555555

5

 

Istock 183301922 m

มอร์ฟีน (Morphine) เป็นเพียงชื่อยาชนิดหนึ่งในกลุ่มยาที่ชื่อว่า โอพิออยด์ (Opioid)

แต่ยาในกลุ่มโอพิออยด์น้ี มีอีกหลายชนิด เช่น โคเดอีน (Codeine) ทรามอล (Tramal) หรือเพททีดีน (Pethidine) ในบทความนี้ จะขอใช้คําว่า "มอร์ฟีน" แทนช่ือยาแก้ปวดกลุ่มโอพิออยด์ เนื่องจากยาในกลุ่มน้ีมีฤทธ์ิคล้ายกันและมอร์ฟีนเป็นยาที่ใช้บ่อยในยากลุ่มนี้ โดยในแต่ละประเทศจะมีการวัดปริมาณการใช้มอร์ฟีน ซึ่งส่วนใหญ่พบว่าในประเทศท่ีพัฒนาแล้ว มีอัตราการใช้มอร์ฟีนสูงกว่าประเทศกําลังพัฒนา สําหรับประเทศไทยพบว่า เราใช้มอร์ฟีนอยู่ประมาณ 40 กิโลกรัมต่อปีจากจํานวนท่ีควรใช้จริง ซึ่งก็คือประมาณ 1,000 กิโลกรัมต่อปี

คําถาม : อาการปวดของโรคมะเร็งแก้ได้ด้วยยามอร์ฟีนจริงหรือไม่

คําตอบ : ไม่เสมอไป

ความจริง : แล้วแต่ว่าอาการปวดน้ันเป็นอาการปวดแบบไหนและรุนแรงแค่ไหน ส่วนใหญ่แพทย์จะเริ่มการใช้ยาจากยาที่อ่อนกว่าก่อน เช่น พาราเซตามอล ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ที่ใช้สําหรับอาการปวดข้อปวดเมื่อยและหากใช้ยากลุ่มดังกล่าวไม่หาย อาจเริ่มใช้ยามอร์ฟีนขนาดน้อยๆ ได้

คําถาม : กินมอร์ฟีนขนาดมากข้ึนแปลว่าอาการแย่ลงจริงหรือไม่

คําตอบ : ไม่เสมอไป

ความจริง : อาจเป็นจากอาการของโรคแย่ลงก็ได้หรืออาจเป็นเพราะในช่วงแรกๆ แพทย์เร่ิมให้ยาแก้ปวดในขนาดน้อยก่อนแล้วจึงค่อยๆ ปรับเพิ่มให้เป็นขนาดที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถดําเนินชีวิตได้ใกล้เคียงกับตอนที่ไม่ป่วยมากที่สุด

คําถาม : การใช้ยามอร์ฟีนทําให้ติดได้จริงหรือไม่

คําตอบ : ไม่เสมอไป

ความจริง : การติดยา หมายถึง การต้องเพิ่มขนาดการใช้ยามากขึ้นเรื่อยๆ แม้อาการของผู้ป่วยไม่ได้เปลี่ยนแปลงและมีอาการอยากยาเมื่อไม่ได้ยา มอร์ฟีนมีฤทธิ์เสพย์ติดจึงทําให้ติดได้ อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยมะเร็งมีอาการปวดรุนแรงและจําเป็นต้องใช้ยามอร์ฟีนมากขึ้น เราจะไม่เรียกว่าเป็นการติดยาแต่เป็นการใช้ยาตามความจําเป็น

คําถาม : การใช้มอร์ฟีนทําให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเร็วข้ึนได้เนื่องจากกดการหายใจจริงหรือไม่

คําตอบ : ผิด

ความจริง : การเริ่มต้นใช้ยามอร์ฟีนในขนาดน้อยๆ ก่อน ไม่ทําให้เกิดการกดการหายใจและไม่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วย การกดการหายใจในผู้ป่วยมักเกิดจากการให้ยาขนาดมากเกินไป ในคนท่ีไม่เคยได้รับมอร์ฟีนมาก่อน อาจเกิดในกรณีคํานวณยาผิดหรือเริ่มยามากเกินไปเพราะคิดว่าผู้ป่วยมีอาการปวดเยอะ

คําถาม : มอร์ฟีนทําให้ท้องผูกจริงหรือไม่

คําตอบ : ถูก

ความจริง : อาการท้องผูกเป็นผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่ใช้ยามอร์ฟีนและเป็นผลข้างเคียงที่พบได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาท่ีใช้ยามอร์ฟีน เพราะมอร์ฟีนทําให้ลําไส้เคลื่อนไหวได้ช้าลง ผู้ป่วยที่ใช้ยามอร์ฟีนจึงควรกินยาถ่ายเพื่อป้องกันอาการท้องผูกเอาไว้เลย หากแพทย์ไม่ได้ให้ อย่าลืมขอด้วยนะคะ นอกจากน้ียามอร์ฟีนยังมีผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และง่วงนอน หากกินมากเกินไปอาจทําให้มีกล้ามเน้ือกระตุกหรือสับสนได้ ซึ่งจะเป็นอาการที่พบก่อนการกดการหายใจ แต่มักต้องกินเป็นขนาดมากๆ หรือมีการเพิ่มขนาดอย่างรวดเร็วจึงเกิดอาการดังกล่าวได้

คําถาม : มอร์ฟีนช่วยเรื่องอาการเหนื่อยหอบในผู้ป่วยมะเร็งได้​จริงหรือไม่

คําตอบ : ถูก

ความจริง : คนทั่วไปเข้าใจว่ายามอร์ฟีนช่วยบรรเทาอาการปวดในผู้ป่วยมะเร็งเป็นหลัก แต่จริงๆ แล้วมอร์ฟีนยังช่วยลดอาการเหนื่อยหอบในผู้ป่วยมะเร็งที่มีการกระจายของโรคไปที่ปอด เช่น มีน้ําในปอดได้ด้วย ผู้ป่วยหลายรายที่เลือกไม่เจาะน้ําในปอดเพื่อลดอาการเหนื่อยหอบอาจเลือกใช้ยามอร์ฟีนแทนได้

คําถาม : คนเป็นโรคไตไม่ควรใช้มอร์ฟีนจริงหรือไม่

คําตอบ : ผิด

ความจริง : คนเป็นโรคไตสามารถใช้มอร์ฟีนได้ แต่ต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้นเพราะมอร์ฟีนถูกขับออกทางไต จึงควรให้มอร์ฟีนโดยเริ่มจากขนาดน้อยๆ ค่อยๆ เพิ่มช้าๆ และคอยเฝ้าระวังผลข้างเคียง แต่ไม่ได้มีข้อห้ามใช้มอร์ฟีนในผู้ป่วยโรคไต

คําถาม : ถ้าได้มอร์ฟีนแบบออกฤทธิ์ยาวแล้วไม่ควรกินมอร์ฟีนระหว่างวันอีกเพราะอาจจะทําให้ได้รับมอร์ฟีนในขนาดท่ีมากเกินไปจริงหรือไม่

คําตอบ : ผิด

ความจริง : ผู้ป่วยที่มีอาการปวดสามารถใช้มอร์ฟีนขนาดน้อยๆ ระหว่างวันได้ ซึ่งโดยทั่วไปจะคิดเป็นร้อยละ 10 ของขนาดมอร์ฟีนออกฤทธ์ิยาวที่ได้รับทั้งวัน ถ้าเป็นยากินอาจกินได้ทุก 2-4 ชั่วโมงเวลาท่ีมีอาการปวด แพทย์จะคํานวณปริมาณยาท่ีผู้ป่วยควรได้รับจริงๆ ในวันต่อไปจากปริมาณมอร์ฟีนระหว่างวันรวมกับมอร์ฟีนแบบออกฤทธิ์ยาว

คําถาม : มอร์ฟีนแบบกินกับฉีดออกฤทธิ์แรงพอๆ กันจริงหรือไม่

คําตอบ : ผิด

ความจริง : มอร์ฟีนแบบฉีดแรงกว่าแบบกิน 2-3 เท่า ดังนั้นเวลาเปลี่ยนจากยาฉีดมาเป็นยากิน อย่าลืมเพิ่มขนาดเป็น 2-3 เท่าด้วย

คําถาม : มอร์ฟีนแบบกินกับแบบฉีดเริ่มออกฤทธิ์เร็วพอๆ กันและออกฤทธ์ินานพอๆ กันจริงหรือไม่

คําตอบ : ผิด

ความจริง : มอร์ฟีนแบบฉีดออกฤทธิ์เร็วกว่าและหมดฤทธิ์เร็วกว่า ถ้าฉีดเข้าเส้นอาจจะหมดฤทธิ์ภายใน 1-2 ชั่วโมง ในขณะที่ยากินจะอยู่ได้ 2-4 ชั่วโมง แต่หากเป็นยามอร์ฟีนกินแบบออกฤทธิ์ยาวจะอยู่ได้นานถึง 12-24 ชั่วโมง

ที่มา: ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก หมอเป้ พญ.ดาริน จตุรภัทรพร

ผู้แต่งหนังสือ  สุข รัก เข้าใจ ในช่วงสุดท้ายของชีวิต | Facebook Page: รักก่อนกำเนิด เกิดก่อนกำหนด

 




คลินิกสุขภาพ

ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า
วิตามินช่วยเรื่องการนอน
เซ็กส์ครั้งแรกฟินหรือเจ็บ
ทำไมต้องวอร์มร่างกายก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง?
ใส่หน้ากากอนามัยอย่างไร จึงจะเรียกว่าป้องกันได้ถูกต้อง
3 สาเหตุ ที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้
เหตุผลที่ควรดูแลสายตาของลูกช่วงก่อนอายุ8-9ปีเป็นพิเศษ
รู้ทัน อาการนอนไม่หลับ อันตรายกว่าที่คิด
ข้อเท็จจริง 8 ข้อเกี่ยวกับมะเร็งผิวหนังที่ไม่ค่อยมีใครรู้
ลูกร้องไม่หยุดทำไง?! 5 วิธีปราบโคลิคให้ทารกอย่างได้ผล
วิธีออกกำลังแล้วไม่เหนื่อย และดีต่อสุขภาพ
ความรู้เรื่องการทำหมันหญิง
การป้องกันการล้มในผู้สูงอายุ (Falls prevention in elderly)
7 คุณประโยชน์จากส้ม
เหตุผลที่จำเป็นทาครีมกันแดดทุกวัน
ความจริงเกี่ยวกับ ซุปไก่สกัด
ข้อดีและข้อเสียของเครื่องดื่มชูกำลัง
การป้องกันท้องผูกในผู้สูงอายุ (Prevention of elderly constipation)
ซิงค์ คืออะไร
การเลี้ยงดูเด็กที่ส่งผลเสียต่อIQ และ EQ ของตัวเด็กได้