ReadyPlanet.com
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 15 คน
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
dot

ราคาสินค้า
หมวดสินค้า
ยี่ห้อสินค้า

  [Help]
dot
สินค้าทั้งหมด
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
 ยาอม/ยาดม/ยาหม่อง
ควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนัก
ว่านหางจระเข้ Aloe Vera เจลว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้รักษาสิว ครีมว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้ทาหน้า สรรพคุณว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้พอกหน้า
ผลิตภัณฑ์สำหรับแม่และเด็ก
ให้เช่าพื้นที่โฆษณาโดยร้านขายยาคลีนิกยาเว็ปไซต์อันดับหนึ่งจัดอันดับโดย google.co.th


วิธีเก็บรักษายาสำหรับเด็กคุณแม่ต้องรู้

 TAG : ร้านขายยาส่ง ขายส่งยา ร้านขายยา ยี่ปั๊วยา 


วิธีเก็บรักษายาสำหรับเด็กแต่ละชนิดสำคัญแม่ต้องรู้

 

 

 

วิธีเก็บรักษายาสำหรับเด็กแต่ละชนิด สำคัญแม่ต้องรู้ 

การเก็บรักษายาให้ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมาก ที่คุณแม่ควรมีความรู้ความเข้าใจ เพราะมีผลต่อสุขภาพของลูกรักโดยตรง โดยปกติแล้วหากรับยาจากโรงพยาบาล จะมีสลากยาของโรงพยาบาลระบุชัดเจนเกี่ยวกับวิธีรับประทานรวมถึงการเก็บยาชนิดนั้นๆด้วย แต่กรณีซื้อยารับประทานเองอาจมีคำแนะนำไม่ชัดเจนเท่าที่ควร การเก็บรักษาผิดวิธีอาจทำให้ยาเสื่อมคุณภาพได้ สิ่งที่มีผลต่อคุณภาพของยา โดยทั่วไปได้แก่ ความร้อน ความชื้น และ แสง วันนี้คุณแม่มาทำความรู้จักกับวิธีการเก็บรักษายาแต่ละชนิดให้ถูกต้องแบบฉบับคุณแม่มืออาชีพกันค่ะ

ประเภทยาเม็ด  สำหรับเด็กเล็ก ยาเม็ดอาจไม่ค่อยได้ใช้ ยาจะระบุวันหมดอายุของยาที่ภาชนะบรรจุอย่างชัดเจน แต่หลังเปิดใช้งานแล้ว แนะนำให้ใช้ต่อได้ภายใน 1 ปี หากเกินระยะเวลาแนะนำให้ทิ้ง

ประเภทยาใช้ภายนอก ได้แก่ ครีม (cream ) ขี้ผึ้ง ( ointment ) หลังเปิดใช้ ไม่ควรเก็บไว้นานเกิน  6  เดือน

ประเภทยาหยอด เช่น ยาหยอดหู ยาหยอดตา หลังเปิดใช้งานมีอายุ 30 วัน

ประเภทยาน้ำทั่วไป หลังเปิดใช้ มีอายุ 30 วัน

ยาน้ำสำหรับเด้กที่เป็นยาปฎิชีวนะ มีอายุการใช้งานสั้นและแต่ละตัวยามีอายุแตกต่างกัน ยาปฎิชีวนะชนิดน้ำสำหรับเด็กที่คุณแม่ มีโอกาสได้ใช้อยู่บ่อยครั้ง มีวิธีเก็บรักษาดังนี้

  • Amoxycillin dry syrup
    ผสมแล้วเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง หรือในตู้เย็นก็ได้ มีอายุ 14 วัน( เภสัชกรแนะนำเก็บในตู้เย็นดีกว่า )
  • Dicloxacillin dry syrup
    ผสมแล้วเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง หรือในตู้เย็นก็ได้ มีอายุ 14 วัน( เภสัชกรแนะนำเก็บในตู้เย็นดีกว่า )
  • Augmentin dry syrup ผสมแล้วควรเก็บในตู้เย็น มีอายุ  10 วัน
  • Cefdinir dry syrup ผสมแล้วเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง มีอายุ 10 วัน
  • Penicillin V dry syrupผสมแล้วควรเก็บในตู้เย็น มีอายุ 14 วัน
  • Cephalexin dry syrup ผสมแล้วควรเก็บในตู้เย็น มีอายุ 14 วัน
  • Erythromycin dry syrup
    ผสมแล้วเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง หรือในตู้เย็นก็ได้ มีอายุ 14 วัน ( เภสัชกรแนะนำเก็บในตู้เย็นดีกว่า )
  • Azithromycin dry syrup ผสมแล้วเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง 10 วัน

ข้อควรรู้อื่นๆเกี่ยวกับยา

  1. ตู้เย็นสำหรับเก็บยา ควรมีอุณหภูมิ 2- 8 องศาเพื่อรักษาคุณภาพของยาให้คงอยู่
  2. ยาบรรจุขวด ซองหรือ ภาชนะอื่นๆที่เป้นสีน้ำตาล เป็นการรักฦษาคุณสมบัติของยาชนิดนั้นๆให้พ้นจากแสง ไม่ควรเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากอาจทำให้ยาเสื่อมคุณภาพได้
  3. กรณียาทั่วไป ที่ไม่ระบุการเก็บรักษาเป็นพิเศษ ให้เก็บยาที่อุณหภูมิห้องบริเวณที่ไม่ร้อน และ ไม่มีแสงแดดส่อง
  4. คำแนะนำให้เก้บในตู้เย็นหมายถึง เก็บช่องเย็น อุณหภูมิ 2 – 8  องศา ห้ามแช่เเข็งโดยเด็ดขาด
  5. เก็บยาให้พ้นมือเด็ก
  6. เก็บยาในที่อากาศถ่ายเทสะดวก
  7. เก็บยาในที่แห้ง ไม่อับชื้น
  8. ห้ามทิ้งยา ไว้ในรถยนต์ เพราะ เมื่อจอดกลางแดด แม้เพียงไม่นานอุณหภูมิในรถจะร้อนมาก ทำให้ยาเสื่อมสภาพได้ 

เรื่องยาจำเป็นต้องระมัดระวังและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพราะเสี่ยงต่อชีวิตของลูกน้อย หากไม่มั่นใจ ควรปรึกษาเภสัชกรใกล้บ้านหรือโรงพยาบาลที่จ่ายยา

ที่มาจาก : www.mamaexpert.com




คลินิกสุขภาพ

ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า
วิตามินช่วยเรื่องการนอน
เซ็กส์ครั้งแรกฟินหรือเจ็บ
ทำไมต้องวอร์มร่างกายก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง?
ใส่หน้ากากอนามัยอย่างไร จึงจะเรียกว่าป้องกันได้ถูกต้อง
3 สาเหตุ ที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้
เหตุผลที่ควรดูแลสายตาของลูกช่วงก่อนอายุ8-9ปีเป็นพิเศษ
รู้ทัน อาการนอนไม่หลับ อันตรายกว่าที่คิด
ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้มอร์ฟีน
ข้อเท็จจริง 8 ข้อเกี่ยวกับมะเร็งผิวหนังที่ไม่ค่อยมีใครรู้
ลูกร้องไม่หยุดทำไง?! 5 วิธีปราบโคลิคให้ทารกอย่างได้ผล
วิธีออกกำลังแล้วไม่เหนื่อย และดีต่อสุขภาพ
ความรู้เรื่องการทำหมันหญิง
การป้องกันการล้มในผู้สูงอายุ (Falls prevention in elderly)
7 คุณประโยชน์จากส้ม
เหตุผลที่จำเป็นทาครีมกันแดดทุกวัน
ความจริงเกี่ยวกับ ซุปไก่สกัด
ข้อดีและข้อเสียของเครื่องดื่มชูกำลัง
การป้องกันท้องผูกในผู้สูงอายุ (Prevention of elderly constipation)
ซิงค์ คืออะไร