ReadyPlanet.com
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 17 คน
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
dot

ราคาสินค้า
หมวดสินค้า
ยี่ห้อสินค้า

  [Help]
dot
สินค้าทั้งหมด
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
 ยาอม/ยาดม/ยาหม่อง
ควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนัก
ว่านหางจระเข้ Aloe Vera เจลว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้รักษาสิว ครีมว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้ทาหน้า สรรพคุณว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้พอกหน้า
ผลิตภัณฑ์สำหรับแม่และเด็ก
ให้เช่าพื้นที่โฆษณาโดยร้านขายยาคลีนิกยาเว็ปไซต์อันดับหนึ่งจัดอันดับโดย google.co.th


ไม้กฤษณา (ไม้หอม): ไม้ทรงคุณค่า ตอนที่ 1

 

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ไม้กฤษณา (ไม้หอม): ไม้ทรงคุณค่า ตอนที่ 1

ไม้กฤษณาหรือไม้หอม เป็นไม้ทรงคุณค่ามาแต่โบราณ มีการนำมาใช้ประกอบทางยาในแพทย์ ในแถบทวีปเอเชีย และการนำมาใช้เพื่อให้เกิดกลิ่นหอมเพื่อการบำบัดหรือทำให้เกิดสุนทรียภาพทางอารมณ์ในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งรู้จักกันดีในนาม “Aromatherapy” 

 

ปัจจุบันความต้องการไม้กฤษณาที่มีคุณภาพสูง ในทางท้องตลาดทวีความรุนแรง จึงทำให้มีการแอบลักลอบตัดไม้กฤษณาจากป่าจนแทบสูญพันธุ์ จนปัจจุบันได้มีการปลูกไม้กฤษณาขึ้นมากมายในเชิงพาณิชย์ทั่วทั้งประเทศไทย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย 

ในตอนที่ 1 นี้ เรามาทำความรู้จักลักษณะทั่วไปของกฤษณากันก่อน ว่าเหตุใดไม้ชนิดนี้ จึงมีราคาแพง และในตอนที่ 2 เราจะมาศึกษาถึงคุณสมบัติทางยาและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของไม้กฤษณา 

ลักษณะของไม้กฤษณา 

ชื่อพื้นเมือง กฤษณา (ภาคตะวันออก) กายูการู กายูกาฮู กายูดึงปู (มาเลเซีย ปัตตานี) ไม้หอม (ภาคตะวันออก ภาคใต้) อครุ, ตคร (บาลี) ติ่มเฮียง (ไม้หอมที่จมน้ำ) (จีน), เซงเคง (ภาษากะเหรี่ยง), สีเสียดน้ำ(บุรีรัมย์), ตะเกราน้ำ(จันทบุรี), ไม้พวงมะพร้าว (ภาคใต้), gaharu, kikaras, mengkaras (อินโดนีเซีย), gaharu, tengkaras, karas (มาเลเซีย), agar (พม่า), Eagle Wood, Aglia, Lignum Aloes, Agarwood, Calambac, Akyaw, Aloewood, Calambour (อังกฤษ), Sasi (Assamese), Chen Xiang (จีน) 

ชื่อวงศ์ Thymelaeaceae Genus: Aquilaria 

ประเทศไทยพบ 4 ชนิด คือ Aquilaria baillonil, A. crassna Pierre, A. malaccensis Lamk. (ชื่อพฤกษศาสตร์พ้อง A. agallocha Roxb.) และชนิดใหม่ที่ถูกค้นพบโดย Dr. Ding Hau คือ A. subintegra Ding Hau 

ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์ 

พบในเอเชีย อินเดีย ทิเบต ภูฐาน พม่า จีน ตลอดแหลมมลายู เกาะสุมาตรา บอร์เนียวและฟิลิปปินส์กฤษณาเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ มีความสูงตั้งแต่ 18-21 เมตร ขึ้นไป 

ลักษณะของเนื้อไม้ 

ลักษณะของเนื้อไม้กฤษณาจะมีทั้งเนื้อไม้ปกติและเนื้อไม้หอมที่มีน้ำมันกฤษณา ซึ่งคนไทยรู้จักจำแนกความแตกต่างมาตั้งแต่โบราณแล้ว ดังกล่าวถึงในมหาชาติคำหลวงสมัยอยุธยา ตอนต้น พ.ศ. 2025 ว่ามีทั้งไม้กฤษณาขาว (เสตครู) และ กฤษณาดำ (ตระคัร) ซึ่งมีเนื้อไม้หอม 

ส่วนเนื้อไม้ที่มีน้ำมันกฤษณา จะมีสีดำ หนัก และจมน้ำ คุณภาพของเนื้อไม้ ขึ้นอยู่กับการสะสมของน้ำมันกฤษณาภายในเซลล์ต่างๆ ของเนื้อไม้ องค์ประกอบทางด้านเคมี ของน้ำมันหอมระเหยจากกฤษณา ประกอบด้วยสารที่เป็นยางเหนียว (Resin) อยู่มาก สารที่ทำให้เกิดกลิ่นหอม คือ Sesquiterpene alcohol มีหลายชนิดคือ Dihydroagarofuran, β-Agarofuran, α-Agarofan, Agarol, Agarospirol, Eudesmane, Valencane, Eromophilane, Vetispirane และสารพวกอนุพันธุ์ของ Chromome น้ำมันกฤษณานี้เองที่ทำให้ไม้กฤษณามีกลิ่นหอม และมีราคาแพงอย่างมหาศาล 

คุณภาพของเนื้อไม้กฤษณา ในประเทศไทย สามารถแบ่งเป็น 4 เกรดดังนี้

  • เกรด 1 ชาวบ้านเรียกว่าไม้ลูกแก่น มีน้ำมันกฤษณาสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วเนื้อไม้ ทำให้มีสีดำ มีราคาแพงมากประมาณ 15,000 - 20,000 บาทต่อกิโลกรัม มีน้ำหนักเป็น 1.01 เท่าของน้ำ จึงจมน้ำ
  • เกรด 2 มีกลิ่นหอมและมีน้ำมันสะสมรองจากเกรด 1 สีจะจางออกทางน้ำตาล มีราคาประมาณ 8,000 – 10,000 บาทต่อกิโลกรัม มีน้ำหนักเบากว่าน้ำ บางครั้งเรียกว่าไม้ตกตะเคียน
  • เกรด 3 มีกลิ่นหอมและมีน้ำมันสะสมรองจากเกรด 2 มีราคาประมาณ 1,000 – 1,500 บาทต่อกิโลกรัม มีน้ำหนักเป็น 0.62 เท่าของน้ำ เบากว่าน้ำจึงลอยน้ำ
  • เกรด 4 มีกลิ่นและน้ำมันสะสมอยู่น้อย ใช้กลั่นน้ำมันหอมระเหย มีราคาประมาณ 400-600 บาทต่อกิโลกรัม มีน้ำหนักประมาณ 0.39 เท่าของน้ำ จึงลอยน้ำ ชนิดนี้ชาวบ้านจะเรียกว่า ไม้ปาก ส่วนเนื้อไม้ปกติที่ไม่มีน้ำมันกฤษณาสะสมอยู่ จะมีน้ำหนักเพียง 0.3 เท่าของน้ำ

การตรวจคุณภาพของไม้กฤษณา ทำได้โดยการทิ้งท่อนไม้ลงในน้ำ ถ้าท่อนไม้จมน้ำจะมีคุณภาพดีเลิศเรียกว่า “Gharki” ชนิดนี้เนื้อไม้มีสีดำ กลิ่นหอมมาก ถ้าท่อนไม้เริ่มลอยปริ่มน้ำ ชนิดนี้มักมีสีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำเงินเข้ม เป็นไม้กฤษณาคุณภาพรองลงมาเรียกว่า “Neem Gharki” ถ้าท่อนไม้ลอยน้ำ เป็นไม้กฤษณาคุณภาพต่ำ ที่เรียกว่า “Samaleh” เมื่อเผาเนื้อไม้จะไม่พบกลิ่นหอมเลย ดังนั้นไม้กฤษณาสีดำเกรด 1 จึงมีราคาที่สูงลิ่วและมีความต้องการในท้องตลาดเป็นอย่างมาก 

สารสำคัญที่พบในน้ำมันกฤษณาได้แก่ Essential oils ชนิดต่างๆเช่น Agarol; Agarospiol; Agarofuran; Dihydroagarofuran เป็นต้น 

แหล่งซื้อขายไม้กฤษณา 

ไม้กฤษณาที่มีคุณภาพดีจะมีพ่อค้ามาซื้อถึงแหล่งปลูก ส่วนน้ำมันกฤษณามีแหล่งค้าขายหลักที่ซอยนานา หลังจากนั้นก็จะมีการส่งออกไปตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นแหล่งรับซื้อใหญ่สุด และประเทศสิงคโปร์ เพื่อจำหน่ายไปประเทศในแถบตะวันออกกลางอีกที 

การปลูกไม้กฤษณาเพื่อให้ได้น้ำมัน 

จะเห็นได้ว่าราคาของไม้กฤษณาอยู่ที่ตัวน้ำมัน การที่จะปลูกให้ได้ไม้กฤษณาผลิตน้ำมันนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ไม้กฤษณาที่ผลิตน้ำมันส่วนใหญ่ต้องมีอายุมากกว่า 10 ปี และต้องอาศัยเทคนิคบางประการที่จะต้องกระตุ้นให้ไม้กฤษณาตกน้ำมัน ดังนั้นแม้ไม้กฤษณาจะมีราคาแพงและมีความต้องการในท้องตลาดทั้งในและต่างประเทศ เกษตรกรชาวสวนควรระมัดระวังในการลงทุน เพราะกว่าจะคืนทุนอาจต้องใช้เวลานาน 10 ปี ดังนั้นเกษตรกรต้องมั่นใจว่ามีสายป่านที่ยาวมากพอ 

การซื้อขายน้ำมันกฤษณาในท้องตลาด 

น้ำมันกฤษณาขายเป็นหน่วยที่เรียกว่าโตร่า (Tora) หนึ่งโตร่าประมาณ 12.5 ซีซี ราคาโดยทั่วไปประมาณ 2,400-5,000 บาทต่อโตร่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำมัน

เอกสารอ้างอิง

  1. เฉลิมชัย สมมุ่ง วิเชษฐ์ ลีลามานิตย์ ไม้กฤษณา (ไม้หอม) แก้ปัญหาความยากจนของคนไทย บริษัท ดาต้า เปเปอร์ แอนด์ พริ้นท์ จำกัด กรุงเทพฯ
 

 




คลินิกสุขภาพ

ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า
วิตามินช่วยเรื่องการนอน
เซ็กส์ครั้งแรกฟินหรือเจ็บ
ทำไมต้องวอร์มร่างกายก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง?
ใส่หน้ากากอนามัยอย่างไร จึงจะเรียกว่าป้องกันได้ถูกต้อง
3 สาเหตุ ที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้
เหตุผลที่ควรดูแลสายตาของลูกช่วงก่อนอายุ8-9ปีเป็นพิเศษ
รู้ทัน อาการนอนไม่หลับ อันตรายกว่าที่คิด
ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้มอร์ฟีน
ข้อเท็จจริง 8 ข้อเกี่ยวกับมะเร็งผิวหนังที่ไม่ค่อยมีใครรู้
ลูกร้องไม่หยุดทำไง?! 5 วิธีปราบโคลิคให้ทารกอย่างได้ผล
วิธีออกกำลังแล้วไม่เหนื่อย และดีต่อสุขภาพ
ความรู้เรื่องการทำหมันหญิง
การป้องกันการล้มในผู้สูงอายุ (Falls prevention in elderly)
7 คุณประโยชน์จากส้ม
เหตุผลที่จำเป็นทาครีมกันแดดทุกวัน
ความจริงเกี่ยวกับ ซุปไก่สกัด
ข้อดีและข้อเสียของเครื่องดื่มชูกำลัง
การป้องกันท้องผูกในผู้สูงอายุ (Prevention of elderly constipation)
ซิงค์ คืออะไร