ReadyPlanet.com
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 13 คน
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
dot

ราคาสินค้า
หมวดสินค้า
ยี่ห้อสินค้า

  [Help]
dot
สินค้าทั้งหมด
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
 ยาอม/ยาดม/ยาหม่อง
ควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนัก
ว่านหางจระเข้ Aloe Vera เจลว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้รักษาสิว ครีมว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้ทาหน้า สรรพคุณว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้พอกหน้า
ผลิตภัณฑ์สำหรับแม่และเด็ก
ให้เช่าพื้นที่โฆษณาโดยร้านขายยาคลีนิกยาเว็ปไซต์อันดับหนึ่งจัดอันดับโดย google.co.th


กลุ่มยาแก้ปวดและยาพาราเซตามอล (Analgesics and Paracetamol)

กลุ่มยาแก้ปวด (Analgesics/อะนัลเจสิค) หมายถึง ยาประเภทต่างๆที่ใช้รักษาบรรเทาอา การปวด ซึ่งอาการปวดมีหลายแบบเช่น ปวดหัว/ปวดศีรษะ ปวดฟัน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ปวดท้อง ปวดข้อ และปวดหลัง

อาการปวดบางชนิดสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยา เพียงพักผ่อนให้เพียงพอ ร่าง กายจะกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อ อาการปวดก็ทุเลาลง แต่อาการปวดบางอย่างต้องรีบรักษาเช่น ปวดศีรษะจากความดันโลหิตสูง ปวดเจ็บแน่นหน้าอกอาจส่ออาการเลือดไปเลี้ยงหัว ใจไม่เพียงพอ แบบนี้รอไม่ได้ ต้องรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลทันที

ในชีวิตประจำวันเมื่อมีอาการปวด คนเราจะใช้วิธีการที่ง่ายและสะดวกในการบรรเทาปวด โดยกินยาแก้ปวดหรือยาบรรเทาปวดเป็นอันดับแรก ทั้งนี้ยาแก้ปวดอาจจำแนกได้เป็นกลุ่มง่ายๆ ดังนี้

ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ) มีใช้ในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย จัดเป็นยาสามัญประจำบ้าน หาซื้อง่าย ราคาไม่แพง

ยาเอ็นเสด (NSAIDs) คือ ยาในกลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ยาสเตียรอยด์ โดยคำว่า เอ็นเสด/เอนเสดส์ ย่อมาจาก Non-steroidal anti-Inflammatory drugs (นอนสเตียรอยดอล แอนตี้อินเฟลมมาตอรีดรัก) เช่น ยาไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) ยาไดโคฟีแนค (Diclofenac) ยาเมเฟนามิค (Mefenamic) ยาอินโดเมธาซิน (Indomethacin) ยาไพโรซิแคม (Piroxicam) และ ยานิมีซูไลด์ (Nimesulide)

ยาคอกทูอินฮิบิเตอร์ (COX-2 Inhibitors) เช่น ยาเซเลโคซิป

กลุ่มยาแก้ปวดชนิดเสพติด เช่น มอร์ฟีน (Morphine) และโคเดอีน (Codeine)

ยาแก้ปวด-ยาพาราเซตามอล

       ยาแก้ปวดรักษาอาการปวดได้อย่างไร?

กลไกการบรรเทาปวดของยาแก้ปวดจะแตกต่างและเป็นคนละแบบกับยาชา เพราะยาชากำจัดทั้งความเจ็บปวดและทำให้ความรู้สึกถึงการสัมผัสของร่างกายสูญหายไปด้วยพร้อมๆกัน

กลไกการออกฤทธิ์ของยาแก้ปวด สามารถออกฤทธิ์ระงับปวดจากความรู้สึกที่สมองหรือ ไม่ก็ออกฤทธิ์ที่อวัยวะที่มีอาการปวดโดยตรง ทั้งนี้อาจแบ่งแนวทางการออกฤทธิ์ของยาแก้ปวดได้ดังนี้

 1.ออกฤทธิ์ห้ามมิให้ร่างกายสร้างหรือหลั่งสารที่ก่อให้เกิดอาการปวด

 2.ยังยั้งฤทธิ์ของสารในร่างกายที่หลั่งออกมาและทำให้รู้สึกปวด

 3.ห้ามไม่ให้เม็ดเลือดขาวออกมาสร้างปฏิกิริยากับบาดแผลที่ได้รับบาดเจ็บจนก่อเกิดอา การปวด

      ผลอันไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง) จากยาแก้ปวดมีอะไรบ้าง?

ยาทุกชนิดมีทั้งคุณและโทษ กลุ่มยาแก้ปวดหากใช้ผิดเวลา ผิดขนาด ผิดวิธี ผิดคน อาจส่งผลอันไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง) ได้มากมาย

ผลอันไม่พึงประสงค์จากยาแก้ปวดที่พบบ่อยได้แก่ เป็นพิษกับตับ ไต ระคายเคืองต่อระ บบทางเดินอาหาร (กระเพาะอาหารและลำไส้) กระตุ้นความดันโลหิตให้สูงขึ้นในผู้ที่ป่วยมีโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว อาจมีผลให้เกิดโรคหัวใจ นอกจากนี้ อาจพบอาการ/ผลข้างเคียงอื่นๆตามมาเช่น ผื่นคัน ปวดศีรษะ ง่วงนอน และหอบหืด

       ยาแก้ปวดมีรูปแบบจำหน่ายอย่างไร?

ยาแก้ปวดที่มีจำหน่ายในร้านยา โรงพยาบาล คลินิก มีหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น

ยากินเช่น ชนิดเม็ด ชนิดเม็ดที่เคลือบด้วยฟิล์มบางๆ ชนิดแคปซูล และชนิดยาน้ำ เชื่อม

ยาใช้ภายนอกเช่น ยาครีม เจล และยาพ่นเสปรย์

ยาฉีดเช่น ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และฉีดเข้าใต้ผิวหนัง

ยาหยดเข้าทางหลอดเลือดโดยเจือจางกับสารละลายน้ำเกลือก่อน

 

นอกจากจัดจำหน่ายในรูปแบบยาเดี่ยวแล้ว ยังมีการนำยาแก้ปวดหลายตัวมาผสมรวมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพยาเช่น นำยาพาราเซตามอลผสมร่วมกับโคเดอีน (Codeine) เป็นต้น

         มีคำแนะนำเลือกใช้ยาแก้ปวดไหม?

การใช้ยาทุกชนิดรวมทั้งยาแก้ปวดให้ได้ผลและปลอดภัยควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ หรือเภสัชกรเสมอ ซึ่งโดยทั่วไปมีคำแนะนำการเลือกใช้ยาแก้ปวดดังนี้

อาการปวดจากปวดเมื่อยธรรมดา ไม่ต้องใช้ยา เพียงแค่นอนพัก อาการก็จะดีขึ้นเอง

ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวด โดยที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับยานั้นๆ ง่ายที่สุดให้ปรึกษา เภสัชกรที่ร้านยาใกล้บ้าน

กรณีที่มีโรคประจำตัวควรต้องระมัดระวังการใช้ยาแก้ปวดต่างๆโดยเฉพาะโรค ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือเมื่อมีแผลในกระเพาะอาหาร เพราะยาแก้ปวดหลายตัวจะส่งเสริมให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หรืออาจส่งผลถึงการทำงานของหัวใจ หรือก่อให้เกิดเลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหารได้ นอกจากนี้ ยาแก้ปวดจะถูกเปลี่ยนแปลงหรือทำลายโดยตับและขับออกทางไต ดังนั้นหากต้องใช้ยาแก้ปวดในผู้ที่มีภาวะตับและ/หรือไตผิดปกติ (โรคตับและ/หรือโรคไต) ควรให้แพทย์เป็นผู้แนะนำเท่านั้น

การใช้ยาแก้ปวดในเด็กเล็กและผู้สูงอายุควรต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือ เภสัชกร ด้วยบุคคลทั้งสองกลุ่มมีสภาพร่างกายที่ทนต่อผลข้างเคียงของยาแก้ปวดได้ต่ำกว่าผู้ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวหรือในผู้ใหญ่ปกติ 

   ยาพาราเซตามอล (Paracetamol)

     ยาพาราเซตามอล (Paracetamol หรือ Acetaminophen) มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) แก้ปวดระดับน้อยไปจนถึงระดับปานกลาง แต่ไม่ช่วยลดการอักเสบของร่างกายเช่น การอักเสบจาก ถูกกระแทกฟกช้ำ ใช้เป็นยาลดไข้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ข้อดีของยาพาราเซตามอลคือ ไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร สามารถรับประทานพร้อม อาหารหรือขณะท้องว่างได้

     าพาราเซตามอลมีรูปแบบจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาพาราเซตามอลมีรูปแบบจัดจำหน่ายได้หลายรูปแบบได้แก่

- ชนิดเม็ด 325 มิลลิกรัม และ 500 มิลลิกรัม

- ชนิดน้ำ 120 มิลลิกรัมใน 1 ช้อนชา และ 250 มิลลิกรัมใน 1 ช้อนชา

- ชนิดหยด 60 มิลลิกรัมในน้ำ 0.6 มิลลิลิตร

- ชนิดฉีด 300 มิลลิกรัมในน้ำ 2 มิลลิลิตร

     ยาพาราเซตามอลมีขนาดรับประทานอย่างไร?

ทั้งผู้ใหญ่และเด็กมีขนาดและช่วงระยะเวลากินยาพาราเซตามอลที่ต่างกันตามอาการและการตอบสนองของร่างกาย ซึ่งเมื่อกินยาพาราเซตามอลแล้วอาการไม่ทุเลาภายใน 1 - 2 วันต้องรีบพบแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุและปรับแนวทางการรักษาอีกครั้ง

อนึ่ง การใช้ยาพาราเซตามอลไม่ได้ขึ้นกับน้ำหนักของผู้ป่วยเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นกับโรคต่างๆของผู้ป่วยด้วยเช่น ผู้ที่มีโรคตับและ/หรือโรคไต แพทย์มักต้องปรับลดขนาดยาที่รับประทานลงทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยเอง สำหรับผู้ใหญ่ขนาดสูงสุดที่รับประทานไม่ควรเกิน 4 กรัม/ วัน ดังนั้นถึงแม้ยาพาราเซตามอลจะเป็นยาสามัญประจำก็ไม่ควรใช้ยาพร่ำเพรื่อ ควรใช้ยาแต่ เฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และควรขอคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา โดยเฉพาะการใช้ยาในเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคเรื้อรังประจำตัว

      มื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมทั้งยาพาราเซตามอล ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรดังนี้

ประวัติแพ้ยาทุกชนิดและอาการที่เกิดจากแพ้ยาเช่น กินยาแล้วคลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือ แน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก

โรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่เช่น โรคหัวใจและโรคความดันโลหิตสูง เพราะยาอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อนแล้ว

หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือไม่หรือกำลังให้นมบุตรหรือไม่ เพราะยามักผ่านรกหรือผ่านเข้าสู่น้ำนมและเข้าสู่ทารก ก่อผลข้างเคียงต่อทารกได้

       หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยาพาราเตามอลสามารถรับประทานยาเมื่อนึกขึ้นได้ หากการลืมทานยาใกล้กับมื้อถัดไปให้รับประทานขนาดปกติ โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า

        ยาพาราเซตามอลมีผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง) ไหม?

การกินยาพาราเซตามอลเป็นเวลานานติดต่อกันเกิน 5 - 7 วันหรือกินเกินขนาด (ขนาดปกติในผู้ใหญ่ที่ไม่มีโรคประจำตัวคือ กินครั้งละ 1 - 2 เม็ดทุก 6 - 8 ชั่วโมง) อาจทำให้เกิดพิษต่อตับ และการกินร่วมกับแอลกอฮอล์สามารถทำให้เกิดภาวะตับล้มเหลวได้ ซึ่งมีบางคนที่กินยาพาราเซตามอลปริมาณมากต้องทนทุกข์ทรมานด้วยสภาวะตับล้มเหลว ต้องนอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน

        ยาพาราเซตามอลมีปฏิกิริยากับยาตัวอื่นไหม?

   ยาพาราเซตามอลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นดังนี้

การกินยาพาราเซตามอลร่วมกับยากดสมองส่วนกลางเช่น ยากันชัก หรือกินพร้อมกับเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์จะเสริมฤทธิ์ความเป็นพิษต่อตับและมีความเสี่ยงทำให้การทำงานของตับลดลง

อนึ่ง ยากันชักที่มีใช้ในปัจจุบันเช่น ยาอัลโลบาร์บิทอล (Allobarbital) ยาอะไมโลบาร์บิทอล (Amylobarbitone) ยาบาร์บิทอล (Barbital) ยาบิวทอลบิทอล (Butalbital) และยาฟีนิโตอิน (Phenytoin)

นอกจากนั้นการกินยาพาราเซตามอลร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือดจะทำให้การจับตัวของเกล็ดเลือดลดลงจึงอาจลดประสิทธิภาพของยาต้านการแข็งตัวของเลือดลงได้ ซึ่งยาต้านการแข็งตัวของเลือดเช่น ยาวาร์ฟาริน (Warfarin)

          มีข้อควรระวังในการใช้ยาพาราเซตามอลอย่างไร?

มีข้อควรระวังในการใช้ยาพาราเซตามอลดังนี้

- ควรระวังเป็นพิเศษถ้าต้องใช้ยาพาราเซตามอลในผู้ป่วยที่มีสภาวะตับทำงานผิดปกติ/โรคตับ (ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ) และห้ามใช้ยากับผู้ที่เคยมีการแพ้ยาตัวนี้ (รู้ได้จากมีอาการผิดปกติจากกินยาพาราเซตามอลในครั้งก่อนๆเช่น ขึ้นผื่นคันและ/หรือแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก/หายใจลำบาก)

- ห้ามใช้ยาหมดอายุ

ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมทั้งยาแก้ปวดทุกชนิดและยาพาราเซตามอล) ยาแผนโบราณทุกชนิดและสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิดควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

            ควรเก็บรักษายาพาราเซตามอลอย่างไร?

ยาเม็ด ควรอยู่ในหีบห่อ (แผงยา) ของบริษัทผู้ผลิต เก็บให้พ้นแสงแดด ไม่ควรเก็บในที่ที่มีอุณหภูมิสูงเช่น ตากแดด เป็นต้น

ยาน้ำการเก็บเหมือนกับยาเม็ด ควรอยู่ในขวดที่ปิดสนิท อยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส/Celsius (ถ้าทำได้คือ เก็บในตู้เย็นแต่ไม่ใช่ช่องแช่แข็ง) และหลังเปิดขวดแล้ว สามารถใช้ยาต่อได้ไม่เกิน 3 เดือน (เมื่อยายังไม่เสื่อมสภาพเช่น สี กลิ่น เปลี่ยนไป)

อนึ่ง ทั้งยาเม็ดและยาน้ำหากพบว่าลักษณะของยาเปลี่ยนไปเช่น สี กลิ่น เปลี่ยน หรือ แตก หัก ไม่ควรใช้ยา ให้ทำลายยาทิ้ง

 อีกประการที่สำคัญ ต้องเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเสมอ

ที่มาจาก haamor

 




รอบรู้เรื่องยากับคลีนิกยา

เหตุผลที่ควรนำยาเก่าไป รพ. ด้วยเสมอ
ยาปฏิชีวนะ ไม่ใช่ ยาแก้อักเสบ!!
ยาฉีดคุมกำเนิด (Injectable contraceptive)
แอลคาร์นิทีน (L-carnitine) จำเป็นไหมกับการลดความอ้วน
ยาหลอก (Placebo Effect)
ชะเอม กับการรักษาและป้องกันโรค
Drug Identification พิสูจน์เอกลักษณ์เม็ดยา
ยายับยั้งการหลั่งน้ำย่อยประเภท H2 blocker รุ่นใหม่
การใช้ยาเลื่อนประจำเดือน