ReadyPlanet.com
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 11 คน
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
dot

ราคาสินค้า
หมวดสินค้า
ยี่ห้อสินค้า

  [Help]
dot
สินค้าทั้งหมด
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
 ยาอม/ยาดม/ยาหม่อง
ควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนัก
ว่านหางจระเข้ Aloe Vera เจลว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้รักษาสิว ครีมว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้ทาหน้า สรรพคุณว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้พอกหน้า
ผลิตภัณฑ์สำหรับแม่และเด็ก
ให้เช่าพื้นที่โฆษณาโดยร้านขายยาคลีนิกยาเว็ปไซต์อันดับหนึ่งจัดอันดับโดย google.co.th


ยาปฏิชีวนะ ไม่ใช่ ยาแก้อักเสบ!!

 

66666666666666666666666666666666666666666666666666

ยาแก้อักเสบ” หลายคนคงมีประสบการณ์เคยได้ยิน หรือเคยใช้ยาเวลามีอาการเจ็บป่วย เช่น เจ็บคอ, ท้องเสีย, ปัสสาวะแสบขัด หรือบาดแผล มาบ้าง แล้วกรณีที่มีอาการเจ็บป่วย เช่น นอกตกหมอน คอเคล็ด, กล้ามเนื้อ-เอ็นอักเสบ จากการเล่นกีฬา ก็ได้รับยาแก้อักเสบ เช่นกัน กรณีเหล่านี้ยาแก้อักเสบที่ได้รับ เหมือนหรือต่างกันหรือไม่ ใช้แทนกันได้หรือไม่

 

  ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส และไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ แก้ปวด ลดไข้ ใช้รักษาเฉพาะโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น เช่น ทอนซิลอักเสบเป็นหนอง
ยาแก้อักเสบ หรือ ยาต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory drugs) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดไข้ บรรเทาปวด ลดบวมแดง เช่น แอสไพริน  ไอบูโพรเฟน  ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

 

 

กษณะการอักเสบ
- การอักเสบมี 2 แบบ คือ 1.อักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย  2.อักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
- การอักเสบส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่การอักเสบเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น โรคภูมิแพ้  คออักเสบจากเชื้อไวรัส  ผิวหนังอักเสบจากการแพ้แดดหรือสารเคมี กล้ามเนื้ออักเสบจากการยกของหนัก

 

 

 

อันตรายจากการใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ
แพ้ยา : หากแพ้ไม่มากอาจมีแค่ผื่นคัน ถ้ารุนแรงขึ้นผิวหนังจะเป็นรอยไหม้ หลุดลอก หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิต
เกิดเชื้อดื้อยา : การกินยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อกระตุ้นให้เชื้อแบคทีเรียกลายพันธุ์เป็นเชื้อดื้อยา ต้องเปลี่ยนไปใช้ยาปฏิชีวนะที่ใหม่ขึ้น แพงขึ้น ซึ่งเหลือให้ใช้อยู่ไม่กี่ชนิด สุดท้ายก็จะไม่มียารักษา และเสียชีวิตในที่สุด
เกิดโรคแทรกซ้อน : ยาปฏิชีวนะจะฆ่าทั้งแบคทีเรียก่อโรคและแบคทีเรียชนิดดีมีประโยชน์ในลำไส้ของเรา เมื่อแบคทีเรียชนิดดีตายไป เชื้ออื่นๆ ในตัวเราจึงฉวยโอกาสเติบโตมากขึ้น ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ลำไส้อักเสบอย่างรุนแรง โดยผนังลำไส้ที่ถูกทำลายหลุดลอกมากับอุจจาระ อันตรายถึงชีวิต

 

 

           ปฏิกิริยาการอักเสบที่เกิดขึ้นในร่างกาย มีสาเหตุได้มากมาย ทั้งที่มาจากการติดเชื้อ และไม่ใช่การติดเชื้อ การใช้ยาเพื่อรักษาภาวการณ์อักเสบ จึงต้องพิจารณาว่าเกิดจากสาเหตุใด

 

 

ในกรณีการอักเสบเกิดจากการติดเชื้อ เช่น เจ็บคอ, ท้องเสีย, ปัสสาวะแสบขัด, แผลอักเสบ ยาที่ได้รับจะเป็นยาฆ่าเชื้อหือยับยั้งเชื้อ ซึ่งเรียกอีกชื่อว่า “ยาปฏิชีวนะ” (Antibiotics) ซึ่งมีทั้งยาต้านเชื้อแบคทีเรีย, เชื้อรา, เชื้อพยาธิ หรือเชื้อไวรัส ยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่จำเป็นต้องรับประทานตามแพทย์สั่งจนครบชุด เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการรักษาสูงสุดและป้องกันไม่ให้เชื้อดื้อต่อยา

ส่วนการอักเสบที่ไม่ใช่การติดเชื้อ ยาที่ใช้รักษาจะแตกต่างกันไปตามสาเหตุ เช่น กรณีกล้ามเนื้อ-เอ็นอักเสบจากการเล่นกีฬาหรืออุบัติเหตุ ยาที่ใช้รักษาจะเป็นยาที่ให้ผลต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) และมีฤทธิ์ระงับปวด โดยไม่มีผลในการยับยั้งเชื้อใดๆ ยาในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นยาที่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ควรรับประทานยาพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที 

จะเห็นได้ว่า ยาแก้อักเสบ บางครั้งจึงอาจหมายถึงยาปฏิชีวนะ แต่ในบางครั้งก็ไม่ใช่ การที่เราใช้คำว่า “ยาแก้อักเสบ” ในกรณีที่ได้กล่าวไปนั้น จึงอาจสร้างความเข้าใจผิดได้ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และได้รับยาแก้อักเสบ ซึ่งในกรณีนี้เป็นยาลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ โดยทั่วไปจะให้ทานจนอาการหายดีแล้วหยุดยาได้ การรับประทานยานี้ต่อเนื่องกันนานอาจเพิ่มความเสี่ยงระคายเคืองกระเพาะอาหารได้ แต่ถ้าผู้ป่วยมีความเข้าใจผิดว่า “ยาแก้อักเสบ” ทุกตัวต้องรับประทานต่อเนื่องจนยาหมด จึงมีการรับประทานยาลดการอักเสบกล้ามเนื้อต่อเนื่องจนยาหมด แม้ว่าอาการอักเสบปวดกล้ามเนื้อจะหายไปแล้วก่อนที่ยาจะหมด เป็นการได้รับยาเกินความจำเป็น

ดังนั้น หากเราเกิดภาวะเจ็บป่วยไปพบแพทย์และได้รับยาแก้อักเสบมา ให้อ่านฉลากอย่างละเอียดให้เข้าใจ หากมีข้อสงสัยให้สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อให้การใช้ยาได้ประสิทธิภาพในการรักษาและมีความปลอดภัย

 




รอบรู้เรื่องยากับคลีนิกยา

เหตุผลที่ควรนำยาเก่าไป รพ. ด้วยเสมอ
ยาฉีดคุมกำเนิด (Injectable contraceptive)
แอลคาร์นิทีน (L-carnitine) จำเป็นไหมกับการลดความอ้วน
ยาหลอก (Placebo Effect)
ชะเอม กับการรักษาและป้องกันโรค
กลุ่มยาแก้ปวดและยาพาราเซตามอล (Analgesics and Paracetamol)
Drug Identification พิสูจน์เอกลักษณ์เม็ดยา
ยายับยั้งการหลั่งน้ำย่อยประเภท H2 blocker รุ่นใหม่
การใช้ยาเลื่อนประจำเดือน