
โรคซึมเศร้า...ภัยร้ายใกล้ตัว ความเครียด (Stress) เป็นสภาวะของความรู้สึก ความคิด หรืออารมณ์ที่เกิดจากการบีบ คั้นกดดันที่เป็นสภาวะปกติของมนุษย์ ซึ่งเมื่อเกิดความเครียดขึ้นแล้วนั้น มนุษย์จะปรับตัวหลัง จากเจอความเครียด โดยบางรายหาวิธีผ่อนคลายความเครียดทำให้สภาวะนี้หายไปได้เอง หรือ บางรายก็ทุกข์ทรมานมากขึ้นจนบางคนเปลี่ยนจากสภาวะเครียดธรรมดาเป็นภาวะซึมเศร้า (Depression) หรือโรคซึมเศร้า (Depressive disorder) ตามมาได้ ซึ่งจะเริ่มมีผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ผลกระทบจากความเครียดต่อบุคคลเรียกว่า ความเหนื่อยล้า (Burnout) โดยจะกระทบต่อร่างกาย จิตใจ และการใช้ชีวิตในสังคม ความเครียดในระดับนี้ สามารถดีขึ้นได้จากการผ่อนคลาย ให้กำลังใจ และการช่วยเหลือจากคนรอบข้าง “ภาวะซึมเศร้า” เป็นพยาธิสภาพทางจิตที่มีระดับความรู้สึกเศร้ารุนแรงหรือเรื้อรัง รู้สึกหมด หนทาง มีภาวะสิ้นยินดี และมีอารมณ์หรือมีพฤติกรรมอื่นๆร่วมด้วย ซึ่งหากถูกวินิจฉัยโดยแพทย์ จะถูกเรียกว่า “โรคซึมเศร้า” ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders: DSM) ที่เป็นหลักเกณฑ์การวินิจ ฉัยความผิดปกติทางจิต ซึ่งจัดทำโดยสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา (American Psychia tric Association: APA) กล่าวว่าอารมณ์เศร้า มักมีรายงานของความรู้สึกซึมเศร้า ความเศร้าโศก หมดหนทาง และหมดหวัง โดยทั่วๆไปคำว่าภาวะซึมเศร้า (Depression) และคำว่าความเศร้า (Sad) มีความหมายเหมือนกัน แต่ในทางคลินิกภาวะซึมเศร้าจะประกอบด้วยความรู้สึกมากกว่า 1 อย่างอาทิ ความโกรธ, ความกลัว, ความกังวล, ความสิ้นหวัง, ความรู้สึกผิด, ความไร้อารมณ์ และ/หรือความเศร้า ซึ่งเหล่านี้จัดเป็นภาวะที่อันตรายต่อร่างกาย และมีผลกระทบต่อการทำงานของสมอง โรคซึมเศร้า (Depressive disorder) คือ ความผิดปกติของอารมณ์ที่ถูกวินิจฉัยโดยแพทย์และเป็นพยาธิสภาพทางจิตที่มีลักษณะอารมณ์เศร้ามากเกินไป รุนแรง ยาวนาน และเรื้อรัง มีผล กระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้ที่อยู่ในสภาวะโรคนี้ ซึ่งจะมีลักษณะอาการได้แก่ เศร้ามาก เศร้าบ่อยๆ ขาดความสนใจจากสิ่งที่เคยสนใจ น้ำหนักลดหรือเพิ่มมาก นอนไม่หลับหรือหลับมากไป ขี้ลืม คิดอะไรไม่ค่อยออก เป็นต้น ซึ่งมักไม่ดีขึ้นเมื่อให้กำลังใจ บางรายอาจถึงขนาดคิดอยากตายหรือฆ่าตัวตายได้
ความชุกจากกการคาดการณ์ขององค์การอนามัยโลก เมื่อ ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2546) พบ ว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามากถึง 150 ล้านคนทั่วโลก และพบว่าโรคซึมเศร้ายังเป็นสาเหตุของภาวะทุพพลภาพในประชากรโลกอีกด้วย โดยปัจจุบันจัดลำดับโรคซึมเศร้าเป็นสาเหตุอันดับ 2 ของปีสุขภาวะที่สูญเสีย หรือ DALYs (Disability Adjusted Life Years: DALYs ซึ่งเป็นการวัดสถานะสุขภาพของประชากรแบบองค์รวม ที่วัดภาวะการสูญเสียด้านสุขภาพ หรือช่องว่างสุขภาพ /Health gap โดยแสดงถึงจำนวนปีที่สูญเสียไปจากการตายก่อนวัยอันควร/Years of Life Lost - YLL รวมกับจำนวนปีที่มีชีวิตอยู่กับความบกพร่องทางสุขภาพ/Years Life with Disability - YLD ) ในประชากรช่วงอายุ 15 - 44 ปีทั่วโลก โรคซึมเศร้ามีกี่รูปแบบ? ภาวะซึมเศร้า โรคซึมเศร้ามีรูปแบบต่างๆดังนี้ โรคซึมเศร้ารุนแรง เป็นภาวะซึมเศร้าที่มีอารมณ์หดหู่และไม่อยากทำกิจกรรมที่ปกติเคยชอบทำ มักจะหมกมุ่น มีความคิดหรือรู้สึกถึงการไม่มีคุณค่า ความเสียใจหรือรู้สึกผิดอย่างไม่มีเหตุผล ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หมดหวัง และเกลียดตัวเอง ความต้องการทางเพศลดลง และมีความคิดเกี่ยวกับความตายหรือการฆ่าตัวตาย ในรายที่รุนแรงจะแสดงอาการของภาวะทางจิต (Psychosis) และมีผลกระทบอย่างชัดเจนต่อครอบครัวผู้ป่วย ความสัมพันธ์ส่วนตัว การทำงานหรือการเรียน การนอนหลับและการรับประทานอาหาร และสุขภาพทั่วไป โรคซึมเศร้าต่อเนื่องยาวนาน มีความรุนแรงน้อยกว่าโรคซึมเศร้าแบบรุนแรงดังกล่าว แต่จะมีอาการต่อเนื่องเรื้อรังเป็นเวลานาน จะมีอารมณ์ซึมเศร้า การปฏิบัติงานไม่ได้ดีเท่าปกติ และมีอาการโรคซึมเศร้าอื่นๆเช่น นอนไม่หลับ มองโลกในแง่ร้าย ขาดสมาธิ ไม่ค่อยสังคม อา การเป็นเกือบทุกวันเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเรื้อรังจึงแตกต่างจากผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงตรงที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเรื้อรังยังทำหน้าที่ต่างๆได้ตามปกติ ซึ่งคนที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าเรื้อรังนี้สามารถเปลี่ยนเป็นโรคซึมเศร้าแบบรุนแรงได้ โรคซึมเศร้าที่มีประสาทหลอน ผู้ป่วยชนิดนี้จะมีอาการรุนแรงและมีอาการประสาทหลอนหรืออาการหลงผิดเช่น มีความคิดว่าตนมีความผิดหรือบาปอย่างมาก หรือมีหูแว่วเป็นเสียงตำหนิตนเอง หรือมีความคิดว่ามีคนจะทำร้าย เชื่อว่าคนอื่นล่วงรู้ความคิดของตนเอง โรคซึมเศร้าหลังคลอด ผู้หญิงที่เพิ่งคลอดบุตร บางคนจะร้องไห้อยู่ระยะหนึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ภาวะนี้จะสามารถหายไปได้เองในหนึ่งสัปดาห์โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่ผู้หญิงที่เพิ่งคลอดจะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด 1% ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ตลอดในช่วงปีแรกหลังคลอด ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลังคลอดจะมีอาการของโรคซึมเศร้าและไม่สนใจดูแลลูก ไม่มีความสุขกับลูกทั้งที่เพิ่งมีลูก โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว คนทั่วไปอาจมีความรู้สึกซึมได้เมื่อสภาพอากาศที่มืดมัว แต่ผู้ป่วยซึมเศร้าตามฤดูกาลจะมีความรู้สึกแย่กว่าความรู้สึกซึมเศร้าของคนปกติ ซึ่งสภาพอากาศจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าพลังงานลดลง รู้สึกแย่แต่ไม่ถึงขั้นซึมเศร้า แต่บางรายอาจเป็นเหมือนกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรง ซึ่งอาการนี้สามารถดีขึ้นได้เมื่อได้รับการบำบัดด้วยการให้แสงสว่าง
โรคซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่น อาการค่อนข้างแตกต่างจากผู้ใหญ่ ซึ่งในเด็กและวัยรุ่นบางรายซึมเศร้าจะไม่ซึม แต่จะมีอาการหงุดหงิด ฉุนเฉียว เจ็บป่วยทางร่างกายบ่อยๆ ไม่มีสมาธิในการเรียน เก็บตัวไม่เล่นกับเพื่อนๆ โรคซึมเศร้ามีสาเหตุจากอะไร? สาเหตุของโรคซึมเศร้าในปัจจุบันทราบสาเหตุเพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่ได้เป็นการบอกว่าสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งจะทำให้เครียดหรือซึมเศร้า แต่หลายๆปัจจัยประกอบกันทำให้เกิดโรคซึม เศร้าได้ ซึ่งปัจจุบันแบ่งสาเหตุโรคซึมเศร้าออกได้ 3 สาเหตุได้แก่ สาเหตุทางกาย (Biological cause): นอกจากนั้นสารเคมีที่เป็นสารสื่อประสาทในสมองบางอย่างแปรปรวนไม่สมดุลก็ทำให้เกิดซึมเศร้าได้ ซึ่งพบว่าระบบสารเคมีในสมองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติอย่างชัดเจน โดยพบมีสารสื่อประสาทที่สำคัญเช่น ซีโรโทนิน (Serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) ลดต่ำลง อีกทั้งสาเหตุด้านกรรมพันธุ์ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องสูงในโรคซึมเศร้าโดยเฉพาะผู้มีครอบครัวเป็นโรคนี้มีโอกาสป่วยด้วยโรคซึมเศร้า 2.8 เท่าของคนทั่วไป ซึ่งอาการซึมเศร้าจากสาเหตุนี้มีลักษณะเฉพาะตัวคือ มีอาการซึมเศร้าเป็นซ้ำหลายๆครั้ง เกิดอาการเป็นพักๆในช่วงระยะเวลาที่แน่นอนระยะหนึ่ง หลังจากนั้นจะตามด้วยช่วงระยะปลอดอาการซึ่งจะกลับเป็นปกติสมบูรณ์โดยไม่พบความแปรปรวนด้านบุคลิกภาพใดๆให้เห็น เกิดจากความผิดปกติเสียหายของสมองซึ่งอาจมีสาเหตุได้หลายสาเหตุเช่น โรคเส้นเลือดแข็งตัวผิดปกติ/โรคหลอดเลือดแดงแข็ง(Arteriosclerosis), โรคเส้นเลือดอุดตันหรือแตกในสมอง/โรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดและชนิดเลือดออก, โรคสมองซึ่งเกิดภายหลังอุบัติเหตุทางสมอง, โรคเนื้องอกสมอง, หรือโรคทางสมองที่มีอาการซึมเศร้าร่วมกับภาวะจิตเภทและลมชัก นอกจากนี้ความผิดปกติทางกายอื่นๆก็อาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้เช่น โรคตับอักเสบ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคพาร์กินสัน โรค SLE เป็นต้น รวมถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิดอาจเป็นผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าในบางคนได้เช่น ยา Corticosteroid, Propranolol เป็นต้น สาเหตุด้านจิตใจ (Psychological cause): สาเหตุอื่นๆด้านจิตใจเช่น การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ผิดหวังในชีวิต ล้มเหลว ผิดพลาด มีความโกรธแค้นแล้วระบายออกไม่ได้จึงย้อนมากดดันรู้สึกผิดในตนเอง มีความคิดลบ มีความคิดบิดเบือน ไม่มีใครช่วยเหลือได้ ไม่มีความหวังแล้ว เป็นต้น คนบางคนมีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าผู้อื่น แม้ว่าลักษณะภายนอกจะเป็นคนบุคลิกมั่นคง มีความทะเยอทะยาน มีความซื่อตรงในหน้าที่ ความประพฤติดีงาม แต่อย่างไรก็ตาม ในสภาพจิตใจระดับลึกๆมีความลังเล สับสน และขาดความมั่นใจ ก็มีแนวโน้มให้ซึมเศร้าได้ โดยผู้ที่เป็นโรคนี้ต้องประสบกับภาวะเหตุการณ์รุนแรงบางอย่างในชีวิตที่ตนเองไม่สามารถจัดการได้ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากครอบครัวตึงเครียด สะเทือนใจอย่างมาก ถูกคาดหวังสูง ถูกบีบคั้นอย่างมาก การหย่าร้าง ความสูญเสีย เป็นต้น
สาเหตุด้านสังคม (Social cause): เช่น ความกดดันจากสังคมจากเศรษฐกิจเป็นเวลานาน การไม่สามารถทำได้ตามการคาดหวังของสังคมเศรษฐกิจ โรคซึมเศร้ามีอาการอย่างไร? อาการเครียดสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทั่วไป แต่ที่จัดว่าอยู่ในเกณฑ์เครียดจนอาจกลาย เป็นโรคซึมเศร้าได้แก่ รู้สึกผิดหวัง สิ้นหวัง ไม่มีใครช่วยได้ ไร้ความสนใจกิจวัตรประจำวันหรือสิ่งแวดล้อมจากที่เดิมเคยสนใจเช่น เคยดูทีวีแล้วสนุก ก็ไม่อยากดูทีวี การกินและน้ำหนักเปลี่ยนแปลง บางคนกินเยอะขึ้น บางคนเบื่ออาหาร ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลง ปัญหาการนอน เมื่อเกิดภาวะ/โรคซึมเศร้ามักจะมีอาการนอนไม่หลับร่วมด้วย โกรธและหงุดหงิดง่าย ซึ่งมักจะเกิดจากความอดทนต่อความเครียดต่ำลง มักจะพบในวัยรุ่น รู้สึกไร้ค่า รู้สึกผิด ตำหนิตนเองบ่อยๆ ไร้พลัง มีความรู้สึกสูญเสียพลัง ไม่มีพลังขับเคลื่อนให้ต้องทำอะไรในชีวิตประจำวัน พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เมื่อเศร้าแล้วบางคนหาทางออกด้านพฤติกรรมเสี่ยงเช่น ติดยาเสพติด ติดพนัน ขับรถเร็ว เล่นกีฬาเสี่ยงตาย เป็นต้น
อาการทางร่างกายเช่น การเจ็บป่วย (เช่น ปวดท้อง มึนศีรษะ) และ/หรือการเจ็บปวด(เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่) บ่อย โดยไม่สามารถอธิบายสาเหตุทางร่างกายได้ อะไรเป็นสัญญาณเตือนว่าเริ่มเครียดหรือเริ่มซึมเศร้า? เมื่อใดที่คนเรารู้ตัวเองว่าตนเองไม่ปกติ ทุกข์อย่างมาก จนไม่สามารถที่ลดความเครียดลงได้ ส่งผลให้ทำงานหรือเรียนตามปกติแย่ลง บางครั้งอาจไปทำให้คนอื่นเดือดร้อน จนหาทาง ออกไม่ได้หรือไม่มีที่พึ่งแล้ว นั่นแหละท่านเริ่มมีปัญหาสุขภาพจิตแล้ว และจะสังเกตเบื้องต้นก่อนจะเกิดเป็นโรคซึมเศร้า คนส่วนใหญ่มักมีความเครียด ซึ่งปัญหาสุขภาพจิตส่วนใหญ่ที่พบได้ค่อน ข้างบ่อย หลายครั้งที่เราเอง “ไม่รู้สึกตัว” ว่ากำลังเครียด รอจนเกิดอาการผิดปกติขึ้นมาจึงจะเริ่มรู้ตัวว่าเรากำลังเครียดเสียแล้ว ซึ่งสังเกตง่ายๆเมื่อเรามีความเครียดสัมพันธ์กับอาการ 3 อย่างดัง ต่อไปนี้ 1.การหายใจ: หลายคนละเลยไม่เคยสังเกต เมื่อเราเครียด การหายใจของเราจะผิดไปจากปกติ เราจะหายใจถี่ขึ้น ตื้นขึ้น และหลายครั้งเรา “กลั้นหายใจ” โดยไม่รู้สึกตัว ซึ่งหากเป็นแบบนี้บ่อยๆ อากาศจะเข้าสู่ปอดน้อยลงเรื่อยๆ สุดท้ายคนที่เครียดมักจะ “ถอนหายใจ” เพื่อระ บายอากาศออกมาและบังคับให้หายใจเข้าลึกๆใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งบางคนก็ใช้เป็นการระบายความเครียดได้ชั่วคราว 2.อาการร้อนท้อง ปวดท้อง หรือร้อนกระเพาะอาหาร: เกิดเนื่องจากเวลาเครียดจากการทำงาน รับงานมาทำเยอะๆ หรือฟังเรื่องร้ายๆ หรือถูกตำหนิบ่อยๆ จะเกิดอาการร้อนในท้อง แสบท้อง ซึ่งเกิดจากการหลั่งกรดมากในกระเพาะอาหาร 3.ปวดศีรษะ ปวดขมับ: เกิดขึ้นได้บ่อยเวลาเครียด สาเหตุก็มาจากการหายใจนั่นเอง ซึ่งทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เต็มที่ ทำให้ต้องสูบฉีดเลือดไปสมองเร็วขึ้นและเส้นเลือดบีบ ตัวมากขึ้น ทำให้เราปวดตุ๊บๆที่ศีรษะ แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9Q ของกรมสุขภาพจิต
การแปลผล
ควรพบจิตแพทย์เมื่อไหร่?
กรมสุขภาพจิตได้ให้ช่องทางการคลายเครียด 24 ชั่วโมงโดยโทรศัพท์สายด่วน 1323 แต่หากท่านรู้สึกว่าจัดการความเครียดเองไม่ได้ สับสน ไม่รู้จะแก้ปัญหาชีวิตอย่างไร ควรไปพบแพทย์ใกล้บ้านหรือจิตแพทย์ อีกอย่างหากท่านทำแบบทดสอบ 9Q แล้วพบว่า มากกว่า 7 คะแนนให้พิจารณาว่าควรพบ จิตแพทย์ แพทย์วินิจฉัยโรคซึมเศร้าอย่างไร? แพทย์วินิจฉัยโรคซึมเศร้าได้จากการสอบถามประวัติอาการ การตรวจร่างกายทั่วไป การ ตรวจสภาพจิต แล้ววินิจฉัยตามเกณฑ์คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders: DSM) ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การวินิจฉัยความผิดปกติทางจิตซึ่งจัดทำโดยสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา (American Psychiatric Association: APA) อนึ่ง เกณฑ์การวินิจฉัยว่าเกิดเป็นโรคซึมเศร้ารุนแรง (Major Depressive Disorder) แล้ว ได้แก่ ก. ผู้ป่วยมีอาการอย่างน้อยหนึ่งอาการจากอารมณ์รู้สึกเศร้า และ/หรือเบื่อหน่ายไม่มีความสุข ซึ่งต่างไปจากอดีต รวมกับอาการ 5 อาการ (หรือมากกว่า) ดังจะกล่าวต่อไป โดยมีอาการร่วมกันอยู่นานอย่างน้อย 2 สัปดาห์
ข. อาการเหล่านี้ต้องมิได้เข้ากับเกณฑ์โรคอื่นๆทางจิตเวช ค. อาการเหล่านี้ก่อให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานอย่างมีความสำคัญทางการแพทย์ หรือกิจกรรมด้านสังคม การงาน หรือด้านอื่นๆที่สำคัญ บกพร่องลง ง. อาการมิได้เป็นจากผลโดยตรงด้านสรีรวิทยาจากสารต่างๆ (เช่น ยา) หรือจากภาวะความเจ็บ ป่วยทางกาย จ. อาการไม่ได้เข้ากับเศร้าจากการที่คนรักเพิ่งสูญเสียไป คนทั่วไปมักจะเป็นอยู่ประมาณ 2 เดือนหลังสูญเสียคนรัก ***อนึ่ง แยกรูปแบบการวินิจฉัยโรคซึมเศร้าเป็น 2 แบบได้แก่ ก.โรคซึมเศร้ารุนแรง: อาการเกิดครั้งแรก (Major Depressive Disorder: Single Episode)
ข. โรคซึมเศร้ารุนแรง: อาการกลับเป็นซ้ำ (Major Depressive Disorder: Recurrent)
ดูแลเบื้องต้นอย่างไรเมื่อรู้ตัวว่าซึมเศร้า?
1.ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันครั้งละ 30 นาทีเช่น วิ่งจ๊อกกิ้ง เต้นแอโรบิค 2.สร้างเสียงหัวเราะให้ตัวเอง ดูภาพยนตร์ตลกหรืออ่านหนังสือการ์ตูนขำขัน สามารถช่วยคลายความวิตกกังวลและลดความเครียดได้ 3.ระบายอารมณ์เสียบ้าง อาการซึมเศร้ามักเกิดจากการเก็บกดอารมณ์โกรธไว้โดยไม่แสดงออก การระบายอารมณ์มีหลายวิธี ทั้งตะโกน ร้องไห้ หรือเขียนความรู้สึกลงในสมุดบันทึก 4.พูดคุยกับคนที่ไว้ใจ การเล่าเรื่องให้ผู้อื่นฟังจะช่วยลดความฟุ้งซ่าน ทั้งยังได้ข้อคิดและเรียนรู้ว่า ความทุกข์ไม่ได้เกิดขึ้นกับเราเพียงคนเดียว ดูแลรักษาความเครียดอย่างไร? 1. การดูแลรักษาความเครียด ความเครียดมีผลกับร่างกาย 3 อย่างคือ การหายใจ ปวดท้อง และปวดศีรษะ วิธีคลายเครียดหรือการดูแลความเครียดก็คือ วิธีทำให้ทั้ง 3 ระบบของร่างกายได้ผ่อนคลายเช่น ออกกำลังกาย ฝึกการหายใจเข้า-ออกลึกๆช้าๆ โยคะ ปลูกต้นไม้ รดน้ำต้นไม้ ทำงานอดิเรกที่ตนเองชอบ พูดคุยกับเพื่อน เป็นต้น ซึ่งหากอยู่ในขณะทำงานควรหาเวลาซัก 5 นาทีในการผ่อนคลายตนเอง จะทำให้ความเครียดไม่ก่อตัวรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นโรคได้ หากใครมีความสามารถในการจัดการกับความคิดตนเอง หรือฝึกเจริญสติตนเองได้ในระ หว่างทำงาน ก็จะทำให้ความเครียดบรรเทาเบาบางลงได้มาก หลายคนสามารถจัดการความเครียดได้ด้วยตนเอง หรือมีบุคคลรอบข้างพูดคุยผ่อนคลายได้บ้างก็ไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ก็ได้ ส่วนคนที่เครียดจนรบกวนชีวิตประจำวันของตนเองและผู้ อื่นทั้งด้านการทำงาน การเรียน และการใช้ชีวิต ควรพบจิตแพทย์เพื่อรับการช่วยเหลือ กรณีเกิดความเครียดที่รุนแรงมากขึ้นจนไม่สามารถจัดการได้ด้วยตนเองกล่าวคือ จนกลายเป็นภาวะซึมเศร้าหรือโรคซึมเศร้า ควรไปพบแพทย์/จิตแพทย์ 2. การรักษาโรคซึมเศร้า เมื่อมาพบแพทย์มีวิธีรักษาหลายๆวิธีร่วมกันดังต่อไปนี้ 1. รักษาอาการทางกายให้สงบ: เช่น โรคกระเพาะอาการ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการรักษาปลายเหตุแต่เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำก่อน 2. แพทย์จะพูดคุยสัมภาษณ์ประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจสภาพจิต เพื่อวินิจฉัยทางการ แพทย์และหาเหตุของปัญหา 3. การให้ยา ในกรณีที่บางคนมีปัญหาภาวะซึมเศร้าหรือโรคซึมเศร้าร่วมกับมีอาการนอนไม่หลับ หรือมีอาการทางจิตอื่นๆที่แพทย์พิจารณาว่าจำเป็นต้องใช้ยา 4. การให้คำปรึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบปัญหา โดยอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับการปรึกษา ใช้เทคนิคการสื่อสาร ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหา การรู้จักใช้ศักยภาพของตนเองในการคิด ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง 5. จิตบำบัด: ซึ่งต้องได้รับการบำบัดโดยจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาบำบัดที่โรงพยาบาลของรัฐและเอกชน ในกรณีที่เครียดเรื้อรังจนเกิดภาวะซึมเศร้าหรือโรคซึมเศร้า เพื่อผ่อนคลายความเครียดและอาการต่างๆรวมถึงการแก้ไขปัญหาชีวิตให้สำเร็จและมีการปรับตัวให้เข้ากับบุคคลอื่นได้ดีโดยในการบำบัด ผู้บำบัดจะพูดคุยเพียงลำพังกับผู้ที่ซึมเศร้าครั้งละประมาณ 45 นาที 8 - 12 ครั้ง ซึ่งจะมีการร่วมกันแก้ปัญหาและหาทางออกปัญหานั้นๆร่วมกันเพื่อไม่กลับไปเกิดความรู้สึกหรือความคิดที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าหรือโรคซึมเศร้าได้อีก
6. จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมเช่น จัดโต๊ะทำงานให้ผ่อนคลายได้ ทำงานพอเหมาะไม่หนักมากเกินไป ให้มีเวลาผ่อนคลายระหว่างทำงาน ป้องกันความเครียด/ภาวะซึมเศร้า/โรคซึมเศร้าอย่างไร? ป้องกันความเครียด/ภาวะซึมเศร้า/โรคซึมเศร้าได้ดังนี้
|