ReadyPlanet.com
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 16 คน
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
dot

ราคาสินค้า
หมวดสินค้า
ยี่ห้อสินค้า

  [Help]
dot
สินค้าทั้งหมด
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
 ยาอม/ยาดม/ยาหม่อง
ควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนัก
ว่านหางจระเข้ Aloe Vera เจลว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้รักษาสิว ครีมว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้ทาหน้า สรรพคุณว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้พอกหน้า
ผลิตภัณฑ์สำหรับแม่และเด็ก
ให้เช่าพื้นที่โฆษณาโดยร้านขายยาคลีนิกยาเว็ปไซต์อันดับหนึ่งจัดอันดับโดย google.co.th


โรคหลอดเลือดสมอง stroke

 

โรคหลอดเลือดสมอง stroke

 คำว่า stroke หรือ CVA หมายถึงภาวะที่สมองขาดออกซิเจนเนื่องมาจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้สมองส่วนดังกล่าวตายภายในไม่กี่นาที อาการของโรค stroke จะเกิดบริเเวณของร่างกายที่ควบคุมด้วยสมองส่วนนั้น เช่น อาการอ่อนแรงโดยเฉียบพลัน อ่อนแรงหรือชาบริเวณใบหน้า แขน หรือขา พูดลำบาก หรือไม่เข้าใจคำพูด หรือมีปัญหาเรื่องการมองเห็น

โรคหลอดเลือดสมอง stroke เป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องรีบให้การรักษาเนื่องจากหากรักษาช้าจะทำให้เซลล์สมองตาย เกิดความพิการตามมา อาจจะรุนแรงถึงกับเสียชีวิต หากเกิดอาการดังกล่าวให้โทรเรียกรถฉุกเฉิน 1669

เลือดออกในสมอง          

ชนิดของ stroke 

โรคหลอดเลือดสมอง แบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ๆได้สามชนิดคือ

1สมองขาดเลือด Ischemic Stroke

กลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง ที่เกิดจากสมองขาดเลือด Ischemic Stroke เนื่องจากหลอดเลือดสมองตีบ หรือมีลิ่มเลือดอุดสมอง โรคนี้จะทำให้เกิดอาการอัมพาตเฉียบพลัน ผู้ป่วยอาจสูญเสียความสามารถในการพูดและหรือการมองเห็น ภาวะสมองขาดเลือดมีสาเหตุจากการที่ร่างกายไม่สามารถลำเลียงเลือดไปเลี้ยงสมองได้ เนื่องจากเกิดการอุดตันของเส้นเลือด ส่งผลให้ออกซิเจนและสารอาหารอื่นไม่สามารถขึ้นไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ ประมาณ 1ใน 3 ของผู้ป่วย มักมีอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว นำมาก่อน

2เลือดออกในสมอง Hemorrhagic Stroke

การมีเลือดออกในสมองเนื่องจากภาวะหลอดเลือดแตก และมีเลือดออกในสมอง Hemorrhagic Stroke ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ ความดันโลหิตสูง และความผิดปกติของผนังหลอดเลือด aneurysms ทำให้มีเลือดออกในสมอง

3สมองขาดเลือดชั่วคราว transient ischemic attac(TIA)

ยังมีโรคหลอดเลือดสมองที่เรียกว่า transient ischemic attac(TIA) เป็นภาวะที่มีลิ่มเลือดอุดสมองชั่วคราวทำให้สมองขาดเลือดชั่วคราว เนื้อสมองมักจะไม่ตาย

  1. ภาวะนี้จะต้องเกิดจากความผิดปกติ ของหลอดเลือดสมอง
  2. จากเหตุในข้อ 1 มีผลทำให้สมองบางส่วนสูญเสียหน้าที่ เช่นพูดไม่ได้ อ่อนแรง
  3. ระยะเวลาที่เป็นต้องไม่เกิน24 ชั่วโมง

หลังจากนั้นอาการต่างๆจะหายไป 

ทั้งสามภาวะจะต้องรีบให้การรักษาโดยเร่งด่วน

ชื่ออื่นที่เรียกโรคหลอดเลือดสมอง

  • Brain attack
  • Cerebrovascular accident (CVA)
  • Hemorrhagic stroke (includes intracerebral hemorrhage and subarachnoid hemorrhage)
  • Ischemic stroke (includes thrombotic stroke and embolic stroke)
  • transient ischemic attack ( TIA)

 

สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง

 

สมองของเราประกอบด้วยเซลล์สมองเป็นจำนวนมากสมองไม่สามารถสะสมอาหารและ oxygen เหมือนกล้ามเนื้อ สมองได้รับสารอาหาร และoxygenจากเลือดที่ไปเลี้ยงดังนั้นหากสมองขาดเลือดเพียง 4นาทีก็เพียงพอทำให้เซลล์สมองขาดสารอาหารและตายในที่สุด สาเหตุที่สำคัญมีอยู่3ประการ
  1. โรคสมองขาดเลือด
  2. โรคหลอดเลือดสมองแตก
  3. Transient Ischemic Attack (TIA)
1โรคสมองขาดเลือด Ischemic Stroke 
สมองขาดเลือด ischemic stroke เกิดขึ้นเนื่องจากหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันจากลิ่มเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอทำให้เซลล์สมองตาย สาเหตุของการอุดตันของหลอดเลือดมีสองชนิดคือ
  • สมองขาดเลือด ischemic stroke หลอดเลือดแดงแข็งหรือตีบ atherosclerosis เกิดเนื่องจากมีคราบไขมันเกาะที่ผนังหลอดเลือด หากคราบ plaque ที่ผนังหลอดเลือดฉีกขาดและมีเกล็ดเลือดมาเกาะ ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดเล็กๆของอวัยวะต่างๆ(หัวใจ และสมอง)ก็จะทำให้เกิดการขาดเลือดที่อวัยวะนั้นเรียก thrombotic 
  • เกิดจากคราบที่หลอดเลือดแดงใหญ่เช่น หลอดเลือด carotid หลุดลอยไปอุดหลอดเลือดในสมอง ทำให้สมองขาดเลือดและเกิดโรค TIA
  • เกิดจากลิ่มเลือดลอยไปอุดหลอดเลือดที่เรียกว่า Embolic stroke ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดได้แก่ การเต้นของหัวใจผิดปกติที่เรียกว่าหัวใจเต้นสั่นพริ้ว atrial fibrillation ซึ่งต้องให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
2สาเหตุของหลอดเลือดสมองแตก Hemorrhagic Stroke
โรคหลอดเลือดสมองแตก cerebral hemorrhage
โรคหลอดเลือดสมองแตกเกิดจากการที่หลอดเลือดสมองแตก และมีเลือดออกในสมอง ทำให้ความดันในสมองเพิ่มมากขึ้นเนื้อสมองขาดเลือด เลือดออกในสมองแบ่งออกเป็นสองชนิดคือ
  • เลือดออกในเนื้อสมอง intracerebral hemorrhage เกิดเนื่องจากหลอดเลือดในเนื้อสมองแตกเลือดจึงคั่งในเนื้อสมอง
  • เลือดออกในช่องสมอง subarachnoid hemorrhage เกิดเนื่องจากหลอดเลือดที่อยู่บนผิวสมองเกิดแตกทำให้เลือดอยู่บริเวณผิวสมอง
ภาวะเลือดออกทั้งสองชนิดจะทำให้สมองบวม ความดันในสมองเพิ่มขึ้น เนื้อสมองได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อยลงทำให้เซลล์สมองตาย
หลอดเลือดสมองแตก
 
 
  • ความดันโลหิตสูง หากความดันโลหิตสูงเป็นเวลานานจะมีการทำลายผนังหลอดเลือด เมื่อความดันสูงมากๆจะทำให้หลอดเลือดมีการแตก
  • Aneurysm เป็นภาวะที่ผนังหลอดเลือดมีการโป่งพองซึ่งจะมีโอกาศแตก
  •  
  • arteriovenous malformations (AVMs) เป็นความผิดปกติของการที่หลอดเลือดแดงต่อกับหลอดเลือดดำ ทำให้หลอดเลือดดำไม่สามารถรับแรงดันได้จึงแตก
 

 

 

 

 

 

โรคสมองขาดเลือดชั่วคราว Transient Ischemic Attack (TIA)

 

เป็นภาวะที่สมองขาดเลือดชั่วคราวเนื่องจากมีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดสมองทำให้ขาดเลือดจึงเกิดอาการระยะหนึ่ง โดยมากมักจะเป็นไม่กี่นาที แต่อาจจะนานถึง 24 ชั่วโมง ผู้ที่เป็นโรค TIA 1 ใน 3 จะมีโอกาศเป็นโรคอัมพฤต การรักษาจะต้องดูแลเรื่องปัจจัยเสี่ยง และการให้ยาป้องกัน อ่านเรื่อง โรคสมองขาดเลือดชั่วคราว Transient Ischemic Attack (TIA)  
สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง
 
โรคอัมพาตมักจะมีอาการเตือนก่อนที่จะเกิดโรค โปรดจำไว้หากท่านมีอาการอันใดอันหนึ่ง แม้ว่าขณะนี้ท่านจะสบายดีควรไปโรงพยาบาลทันทีอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เป็นสัญญาณเตือนถึงความเสียหายของสมองชั่วคราวที่เกิดขึ้นกับการไหลเวียนของเลือดไปสู่สมอง หากรักาาไม่ทันก็จะทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิต
1669 Stroke fast track
1669
Stroke fast track เป็นช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองซึ่งจะลดระยะเวลาการปรึกษาระหว่างเจ้าหน้าที่ที่ทำงาน การส่งต่อผู้ป่วย และขบวนการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักาาภายใน 4.5 ชั่วโมงหลังจากเกิดอาการโรคหลอดเลือดสมอง ญาติและผู้ป่วยจะต้องรู้จักอาการเตือนว่าเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อเกิดอาการดังกล่าวให้โทรเบอร์1669 ซึ่งเป็นสายด่วนซึ่งจะรีบส่งรถฉุกเฉินมารับผู้ป่วยซึ่งจะเร็วกว่าการส่งเอง 
การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง
 
หลักการวินิจฉัยโรคของแพทย์ประกอบไปด้วย
  • ประวัติการเจ็บป่วย
  • อาการของผู้ป่วย
  • การตรวจร่างกาย
  • การวินิจฉัย
 
ประวัติการเจ็บป่วยและการตรวจร่างกาย
  • แพทย์จะซักประวัติการเจ็บป่วยของสมาชิดในครอบครัว โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด
  • แพทย์จะซักโรคที่ท่านเป็นอยู่ และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดในสมองได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การใช้ยาเสพติด โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
  • แพทย์จะซักประวัติการเจ็บป่วย เวลาที่เริ่มป่วย การเปลี่ยนของอาการ
 
การตรวจร่างกายของแพทย์
  • แพทย์จะตรวจระดับความรู้สึก
  • กำลังของกล้ามเนื้อแขน ขาแต่ละข้าง
  • ความรู้สึกของแขนขาแต่ละข้าง
  • ตรวจเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อบนใบใหน้าทั้ง 12คู่
  • ตรวจการทรงตัว การสมดุลของร่างกาย
  • การพูด การฟัง
  • นอกจากนั้นจะตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ carotid artery disease 
 
การตรวจพิเศษ
 
การตรวจทางสมอง
  • การตรวจ computed tomography scan( CT scan)เป็นการตรวจที่ไม่เจ็บ
  • การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Magnetic resonance imaging (MRI) ซึ่งอาจจะใช้แทน CT scan
  • การฉีดสีหลอดเลือดสมองซึ่งทำได้ทั้งสองชนิดคือ CT arteriogram (CTA) และ magnetic resonance arteriogram (MRA) เป็นการตรวจหลอดเลือดในสมอง
  • Carotid Ultrasound เป็นการตรวจว่าหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอมีโรคหลอดเลือดแข็งและหลอดเลือดตีบหรือไม่
  • Carotid Angiography เป็นการฉีดสีเข้าไปยังหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอเพื่อตรวจว่ามีหลอดเลือดตีบหรือไม่
 
การตรวจทางหัวใจ
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG (Electrocardiogram) โดยเฉพาการตรวจหาหัวใจเต้นสั่นพริ้ว atrial fibrillation
  • การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงของหัวใจ Echocardiography
 
การตรวจเลือด
  • การตรวจหาน้ำตาลในเลือด
  • การตรวจเลือดทั่วไป CBC โดยเฉพาะเกล็ดเลือด
  • การตรวจการแข็งตัวของเลือด PT and PTT tests 
การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองควรดำเนินชีวิตโดยไม่ประมาท เช่น การออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนัก การเลือกรับประทานอาหารสุขภาพ และการตรวจสุขภาพประจำปี เมื่อผู้ป่วยที่มอาการเริ่มต้นของโรคหลอดเลือดสมองหรือที่เรียกว่า ผู้ป่วยที่มีสัญญาณอันตราย จะต้องรีบไปโรคพยาบาลทันที ไม่ต้องรอลูกหรือลองรับประทานยาอื่นๆ เนื่องจากจะมีเวลาในการรักษาตั้งแต่เกิดอาการจนได้ยาภายใน 4.5 ชั่วโมง เมื่อมาถึงโรงพยาบาลแพทย์จะตรวจร่างกายโดยวัดความดันโลหิต ฟังหัวใจว่ามีเสียงลิ้นหัวใจว่ารั่วหรือไม่ ฟังเสียงที่หลอกเลือดแดงใหญ่ที่คอ ว่ามีเสียง ฟู่หรือไม่ และรีบส่งตรวจคอมพิวเตอร์
การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง สามารถกระทำได้หลายวิธีดังนี้
  1. การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า magnetic resonance imaging (MRI) scan.ซึ่งสามารถบอกสมองขาดเลือดได้ดี
  2. การใช้ x-ray computer สามารถบอกเส้นเลือดในสมองแตกได้ดี
  3. การฉีดสีเข้าหลอดเลือดแดงที่คอ สามารถบอกว่ามี aneurysm และ AVM malformation ได้ดี
  4. หากสงสัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดแดงที่คอตีบ แพทย์จะส่งตรวจคลื่นความถี่สูง Doppler ultrasound scan เพื่อวัดว่าหลอดเลือดแดงที่คอตีบมากน้อยแค่ไหน ถ้าหากตีบน้อยกว่า 70%แพทย์จะให้ยา aspirin หรือ ticlopidine ถ้าหากตีบเกิน 70%แพทย์แนะนำผ่าตัด
 
 
การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
หากท่านมีอาการของโรคหลอดเลือดสมอง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือจะต้องได้รับการรักษาให้เร็วที่สุด การได้รับการรักษาที่ทันการจะลดโรคแทรกซ้อน และลดอัตราการเสียชีวิต
 
สมองขาดเลือด Ischemic Stroke
การรักษาโรคสมองขาดเลือดจะต้องทำให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองซึ่งจะได้ผลดีหากให้ยาละลายลิ่มเลือดภายใน 4.5 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ ยาที่ให้ได้แก่
  • Aspirin มักจะให้ที่ห้องฉุกเฉิน
  • การให้ยา tissue plasminogen activator (tPA หรือ rtPA) ผ่านทางหลอดเลือดดำ ซึ่งจะละลายลิ่มเลือด ซึ่งจะได้ผลดีเมื่อให้ยาละลายลิ่มเลือดภายใน 3 ชั่วโมง
  • Endovascular Procedures เป็นการใส่สายสวนและนำเอาลิ่มเลือดออกมาออกมา หรือการให้ยาละลายลิ่มเลือด (tPA หรือ rtPA) ผ่านทางสายสวนซึ่งจะละลายลิ่มเลือดได้ดีกว่าการให้ทางน้ำเกลือ
หากท่านเป็นโรค transient ischemic attack ซึ่งสาเหตุเกิดจากโรคหลอดเลือดแข็งที่หลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ จะต้องทำการแก้ไขหลอดเลือดแดงใหญ่คอ
  • Carotid endarterectomy ศัลยแพทย์จะผ่าตัดเอาคราบ Plaque ออกจากผนังหลอดเลือดโดยการผ่าตัดที่คอ และเปิดหลอดเลือดแดงเพื่อผ่าเอาคราบออก และทำการซ่อมหลอดเลือด การผ่าตัดนี้จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ แต่มีความเสี่ยงต่อการผ่าตัดโดยเฉพาะผู้ที่มีโรคหัวใจ
  • การใส่สายสวน และทำบอลลูนพร้อมขดลวด
 
เลือดออกในสมอง
หลักสำคัญของเลือดออกในสมองคือทำให้เลือดหยุดและลดความดันในสมอง เมื่อเลือดหยุดไหลก็เป็นช่วยที่ให้เวลาเพื่อก้อนเลือดจะค่อยๆละลายไปเอง แต่กรณีที่มีก้อนเลือดขนาดใหญ่แพทย์จะผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเลือดออก และลดความดันในสมอง
  • การใส่สายสวนผ่านทางเส้นเลือดที่ขาหนีบ และใส่ขดลวดยังบริเวณหนอดเลือดที่ผิดปกติ เช่น  aneurysm หรือ  AVM เพื่อป้องกันการแตกของหลอดเลือด
  • การผ่าตัดเพื่อเข้าไปทำให้เลือดหยุด โดยการผ่าตัดหลอดเลือดที่ผิดปกติออก หรือการใส่ clip หนีบหลอดเลือดที่โป่งพอง aneurysm 
การป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
 หลักในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองจะต้องค้นหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อค้นหาพบแล้วก็ให้ทำการปรับปรุง ปัจจัยเสี่ยงได้แก่
  1. ปัจจัยเสี่ยงเรื่องโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
  2. ปัจจัยเสี่ยงเรื่องพฤติกรรมสุขภาพ
  3. ตระรู้ถึงอาการเตือนและรีบรักษา
ปัจจัยเสี่ยงเรื่องโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง 
หัวใจเต้นสั่นพริ้ว Atrial Fibrillation
ผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติที่เรียกว่าหัวใจเต้นสั่นพริ้ว จะมีความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดจากหัวใจไปอุดหลอดเลือดในสมองที่เรียกว่า embolic stroke ผู้ป่วยและผู้ดูแลจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับหัวใจเต้นสั่นพริ้วดังต่อไปนี้ 
  • หัวใจเต้นสั่นพริ้วเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดโรคสมองขาดเลือด
  • หัวใจเต้นสั่นพริ้วพบมากในผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี
  • ผู้ที่เป็นหัวใจเต้นสั่นพริ้วส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ทำให้วินิจฉัยได้ยาก
  • แพทย์สามารถให้การดูแลผู้ป่วยหัวใจเต้นสั่นพริ้วได้ดี
  • ร้อยละ15ของผู้ป่วยสมองขาดเลือดจะพบว่ามีโรคหัวใจเต้นสั่นพริ้วร่วมด้วย
  • การดูแลผู้ที่หัวใจเต้นสั่นพริ้วจะป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 80
  • ผู้ที่หัวใจเต้นสั่นพริ้วจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคสมองขาดเลือดห้าเท่าของคนปกติ
 
การประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
ปัจจัยเสี่ยง เสี่ยงสูง ให้ระวัง เสี่ยงต่ำ
ความดันโลหิตสูง >140/90 หรือไม่ทราบ 120-139/80-89 <120/80
หัวใจเต้นสั่นพริ้ว ไม่ทราบ หัวใจเต้นปกติ หัวใจเต้นปกติ
สูบบุหรี่ สูบบุหรี่ พยายามเลิกสูบ ไม่สูบบุหรี่
ระดับคอเลสเตอรอล >240 200-239 <200
เบาหวาน เป็น เสี่ยงต่อเบาหวาน ไม่เป็น
ออกกำลังกาย ไม่ออกกำลังกาย ออกกำลังกายบ้าง ออกกำลังประจำ
น้ำหนัก อ้วน น้ำหนักเกินเล็กน้อย น้ำหนักปกติ
โรคหลอดเลือดในครอบครัว มีประวัติ ไม่แน่ใจ ไม่มี
ผลรวม      
การแปรผล
  • หากท่านมีอาการเหมือนในตารางให้ 1 คะแนน
  • ในช่องผลรวมของความเสี่ยงสูงหากได้คะแนนเท่ากับหรือมากกว่า3 แสดงว่าท่านมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูง จำเป็นจะต้องได้รับการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
  • สำหรับช่องระวังหากได้คะแนน 4-6 คุณจะต้องรีบความคุมปัจจัยเสี่ยง
  • ส่วนในช่องความเสี่ยงต่ำหากมีคะแนน 6-8 คุณควบคุมได้ดีแล้ว
ท่านจะต้องทราบอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง และรีบไปโรงพยาบาล
ปัจจัยเสี่ยงเรื่องพฤติกรรมสุขภาพ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
 
อาหาร
การรับประทานอาหารจานสุขภาพจะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีสุขภาพดีขึ้น และลดการเกิดโรคอ้วนลงพุง รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ รับประทานผักและผลไม้ให้มาก รับ
ประทานธัญพืช ปลา ถั่ว นมพร่องมันเนย เนื้อไก่ เนื้อไม่ติดมัน หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว เกลือ น้ำตาล แนวทางอาหารเพื่อสุขภาพได้แก่
 
  • ใช้จานรัศมี 9 นิ้วแบ่งจานออกเป็นสี่ส่วน
  • ให้รับประทานผัก 2 ส่วนหรือครึ่งจาน โดยเน้นการรับประทานผักสด และควรจะรับผักหลายสี
  • ให้รับประทานอาหารแป้งหนึ่งส่วน โดยใช้ธัญพืชครบส่วน whole grain ส่วนอาหารของคนไทยคือข้าวกล้อง โดยปกติไม่เกิน 2 ทัพพี หากรับประทานขนมปังต้องเลือกชนิด whole wheat
  • ส่วนเนื้อสัตว์ให้รับประทานเนื้อสีขาว เช่นเนื้อปลา เนื้อไก่ไม่ติดหนัง ส่วนเนื้อสีแดงให้รับประทานให้น้อยลง เช่นเนื้อหมูต้องไม่ติดมันหือหนัง หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป เช่นไส้กรอก เบคอน แฮม
ตัวอย่างอาหาร 2-1-1 
  • ลดการบริโภคน้ำตาลต้องไม่เกินวันละ 6 ชช โดยการหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล
  • ลดการบริโภคเกลือ
  • หลีกเลี่ยงไขมันทรานส์
  • ดื่มสุราไม่เกิน 2 หน่วยสุราสำหรับผู้ชาย และไม่เกิน 1 หน่วยสำหรับผู้หญิง
 
การออกกำลังกาย
ผู้ที่ออกกำลังกาย 5 วันต่อสัปดาห์จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง คำแนะนำในการอกกำลักาย
  • ผู้ที่ออกกำลังหนักปานกลางได้แก่ การเดินเร็ว การขี่จักรยาน การ water aerobics ให้ออกสัปดาห์ละ 150นาที และมีการออกกำลังกายชนิดยกน้ำหนักสัปดาห์ละ2วันเป็นอย่างน้อย
  • ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนักเช่น การจ๊อกกี้ การวิ่ง การว่ายน้ำ ให้ออกสัปดาห์ละ 75 นาที และมีการออกกำลังกายชนิดยกน้ำหนักสัปดาห์ละ2วันเป็นอย่างน้อย
  • หากไม่สามารถออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง 30 นาทีก็สามารถแบ่งเป็นครั้งละ10นาท
 
ให้หยุดสูบบุหรี่
ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มสองเท่าของคนไม่สูบ เนื่องจากการสูบบุหรี่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็ง เกิดลิ่มเลือดได้งาย และเพิ่มคราบที่ผนังหลอดเลือด ควรจะเลิกสูบบุหรี่ งดการสูบบุหรี่ เนื่องจากสารเคมีในบุหรี่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็งและเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนั้นคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่หากได้รับควันบุหรี่จากผู้ที่สูบก็ได้รับความเสี่ยงเช่นกัน
 
การดื่มสุรา
การดื่มสุรามากจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมองจึงแนะนำให้ดื่มไม่เกิน2 และ1 หน่วยสุราในชายและหญิงตามลำดับ
หนึ่งหน่วยสุราเท่าแอลกอออล์ 14 กรัม
  • เท่าเบียร์(แอลกอฮอล์ 5%) 12 ounces(360 cc)
  • เท่ากับไวน์ 1 แก้ว
  • สุรา 45 ซีซี
ควบคุมน้ำหนัก
ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยให้ดัชนีมวลกายประมาณ23
  • ลดพลังจากอาหารเหลือ 1,500 to 2,000 calories ต่อวัน
  • ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น
โรคที่เป็นความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
โรคที่เป็นความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้แก่
  • ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงจะทำให้ผนังหลอดเลือดหนาและเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าผู้ที่มีความดันปกติถึงหนึ่งเท่าครึ่ง การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การลดเค็มและการใช้ยาเพื่อคุมความดันโลหิต
    • ลดปริมาณเกลือเหลือ 1,500 milligramsต่อวัน ประมาณครึ่งช้อนชา).
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวเช่น burgers, cheese, และ ice cream.
    • รับประทานผักและผลไม้วันละ6-8 ทัพพี รับประทานปลา 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนแป้งใช้ข้าวกล้องแทนข้าวสวย ดื่มนมไขมันต่ำ
    • ออกกำลังกายวันละ 30นาที สัปดาห์ละห้าวัน
    • หยุดสูบบุหรี่ 
  • หัวใจเต้นสั่นพริ้ว พบบ่อยในผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหัวใจเต้นสั่นพริ้วจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดในหัวใจและลอยไปอุดหลอดเลือดสมอง การให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดสำหรับผู้ที่มีโรคหัวใจเต้นสั่นพริ้ว
  • ไขมันในเลือดสูงจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ต้องคุมระดับคอเลสเตอรอลให้ต่ำกว่า 200 มก
  • โรคเบาหวาน จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเพิ่ม 4 เท่า
  • โรคหลอดเลือดแดงแข็งเกิดจากการสะสมคราบไขมันที่ผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบ และเกิดลิ่มเลือดไปอุดหลอดเลือด
  • หลอดเลือดแดงที่คอตีบ carotid artery stenosis จะมีลิ่มเลือดไปอุดหลอดเลือดทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง หากสงสัยแพทย์จะตรวจ ultrasound หลอดเลือดการให้ Aspirin หรือยาต้านเกล็ดเลือดสำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง
 
สำหรับความเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขได้
  • เพศ พบว่าพบโรคหลอดเลือดสมองในชายมากกว่าผู้หญิงเมื่ออายุน้อย แต่เมื่ออายุมากขึ้นจะพบในหญิงมากกว่าชาย
  • อายุ พบโรคหลอดเลือดสมองมากเมื่ออายุมากกว่า 55 ปี และทุก 10 ที่ปีความเสี่ยงของการเกิโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มเป็นสองเท่า
  • ครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมองสมาชิกในครอบครัวจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
  • โรคสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA) มีโอกาศเกิดโรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 17 ภายใน 90 วัน ส่วนใหญ่จะเกิดภายใน 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองขาดเลือดชั่วคราวจะต้องได้รับยาป้องกันหลอดเลือสมอง
การป้องโรคหลอดเลือดสมองทุติยภูมิ(หลังจากป่วย)

 แบบประเมินความเสี่ยง stroke1-150223204927-conversion-gate02.pdf




รอบรู้เรื่องโรคกับคลีนิกยา

โรคอ้วน อันตรายกว่าที่คุณคิด
อาการชักแบบมีสติ (Simple partial seizure หรือ Simple focal seisure)
ผู้ป่วยโรคเรื้อรังกับการใช้ยา
กาเฟอีน คาเฟอีน (Caffeine)
การบาดเจ็บซ้ำซากจากงานซ้ำๆ (Repetitive strain injury)
โรคสายตาของคนทำงานยุคใหม่ “ Computer Vision Syndrome (CVS)
ขากระตุกขณะหลับ (Periodic limb movement disorder)
โรคซึมเศร้า...ภัยร้ายใกล้ตัว
ไข้จับสั่น (Malaria)
โลหิตจางและอาหารเสริมเพิ่มธาตุเหล็ก
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) และโรคกระดูกบาง (Osteopenia) และอาหารเสริมแคลเซียม
โรคกรดไหลย้อนและการป้องกันดูแล
ไข้เลือดออกและวิธีป้องกันก่อน
โรคเมเนียส์ หรือ น้ำในหูไม่เท่ากัน article
ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก (Intranasal Steroids) กับการรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้