ยาสมุนไพรธรรมชาติที่ ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าช่วยลดสาเหตุของอาการของริดสีดวงทวาร คุณสมบัติของสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้เพื่อรักษาริดสีดวงทวาร
Hemoral ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยรักษาอาการริดสีดวงทวาร ซึงอาการมักจะหายได้เร็วกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ไม่มีอาการปวดอีกทั้งยังเป็นยาระบายอ่อนๆ เพื่อลดการเบ่งอุจจาระและอาการท้องผูก จึงไม่เป็นต้องรับประทานยาระบายเพิ่มเติม ด้วยส่วนประกอบอันทรงคุณค่าดังนี้
Natural Herbs for Hemorrhiods : เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหลอดเลือดดำ ตามธรรมชาติ
Natural Herbs for Anti-inflammatory : บรรเทาอาการปวดและอักเสบอย่างอ่อนโยน โดยไม่ระคายเคื่องกระเพาะอาหาร
Mild Laxatives : ลดต้นเหตุของอาการเบ่งถ่ายและท้องผูก อย่างอ่อนโยน โดยไม่จำเป็นต้องรับประทานยาระบายเพิ่ม
การปฏิบัติดูแลตนเอง
1. ควรนั่งแช่น้ำอุ่น10-15นาทีวันละ3ครั้งเพื่อช่วยลดอาการปวดการอักเสบและช่วยทำความสะอาดบริเวณที่เป็นโรค
2. ควรหลีกเลี่ยงอาการท้องผูกเพราะท้องผูกเป็นสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งของริดสีดวงทวารหนักทั้งเป็นสาเหตุของการเบ่งและทำให้อุจจาระแข็งซึ่งมีวิธีแก้ไขอาการท้องผูกดังนี้
- กินอาหารที่มีเส้นใยสูงเช่นผักผลไม้และเมล็ดธัญพืชเพื่อช่วยให้อุจจาระนุ่มขึ้น
- ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ8แก้วหรือ2 ลิตรอย่างสม่ำเสมอ
- ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และกาเฟอีนเช่นสุราเบียร์ไวน์กาแฟชาน้ำโคล่าเพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำอุจจารแข็งและถ่ายลำบากขึ้น
- ควรหลีกเลี่ยงกลั้นอุจจาระ
- ไม่ควรนั่งหรือเบ่งอุจจาระโดยไม่รู้สึกปวดจะถ่าย
4. ควรหลีกเลี่ยงการขัดถูบริเวณทวารหนักอย่างรุนแรงเพราะจะยิ่งระคายเคืองริดสีดวงทวารหนัก
5. ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอเพราะจะช่วยเพิ่มกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ทำให้ถ่ายอุจจาระได้ง่าย
ชนิดของริดสีดวงทวาร
แบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ คือ ริดสีดวงทวารภายใน และริดสีดวงทวารภายนอก
ริดสีดวงทวารหนักภายใน เป็นชนิดที่พบบ่อย เกิดติ่งเนื้อบวมขึ้นอยู่ภายในทวารหนัก ไม่สามารถมองเห็นจากภายนอก หรือสัมผัสได้ โดยมากมักไม่มีอาการเจ็บปวด แต่อาจสังเกตได้จากอาการเลือดสดๆ ไหลออกพร้อมๆ กับอุจจาระ
ริดสีดวงทวารหนักภายนอก เป็นชนิดที่มีติ่งเนื้อ นุ่มๆ ยื่นออกมาจากทวารหนัก สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ มักมีอาการเจ็บปวด และอาจมีเลือดออกได้เมื่อมีการเบ่งอุจจาระ
สาเหตุ พบว่าส่วนใหญ่เกิดจากการเบ่งถ่ายอุจจาระบ่อยๆ นานๆ
ปัจจัยเสี่ยง :
ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงให้เป็นริดสีดวงทวาร
+ พยายามเบ่งถ่าย
+ ท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรัง
+ นั่งขับถ่ายเป็นเวลานานๆ
+ หญิงตั้งครรถ์ เนื่องจากเกิดแรงดันในช่องท้อง การขยายตัวของหลอดเลือดที่ปากทวาร
+ อายุเพิ่มขึ้น
+ โรคอ้วน
+ พันธุกรรม
+ เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคตับ
+ ใช้ยาระบายชนิดสวนทวารนานๆ
+ ผู้ที่ต้องยืนนานๆ
อาการโดยทั่วไป
+ มีเลือดไหลที่ทวาร อาจเกิดที่ :
• เลือดปนกับอุจจาระ
• เลือดเปื้อนที่กระดาษทิชชู
• เลือดหยดในโถส้วม
+ มีอาการคัน และแสบร้อน
+ มีการบวมและปวดขณะขับถ่าย
+ มีก้อนหรือติ่งพองบริเวณปากทวาร
วิธีการป้องกัน การรักษารักษาริดสีดวงที่ดีสุดคือ การป้องกัน
+ รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง
+ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
+ หลีกเลี่ยงกลั้นอุจจาระ
+ หลีกเลี่ยงการใช้ยาระบายบ่อยๆ
+ ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือ 2 ลิตร
+ ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และกาเฟอีน
ข้อควรทราบ
+ ริดสีดวงทวารไม่ใช่สาเหตุของโรคมะเร็งทวารหนัก หรือมะเร็งลำไส้
+ การรักษาโดยการผ่าตัดไม่ค่อยมีความจำเป็น เนื่องจากรับประทานยาและปฎิบัติตามคำแนะนะของแพทย์และเภสัชกร อาการก็สามารถดีขึ้นได้
+ ถ้าถ่ายเป็นมูกเลือดให้พบแพทย์โดยเร็ว
+ การรักษาริดสีดวงทวารมีหลายวิธี เช่น การรับประทานยา, ใช้ยาเหน็บ, ยาระบาย, ยาช่วยให้อุจจาระนุ่ม,การฉีดยาที่หัวริดสีดวงทวาร การใช้ยางรัด และสุดท้ายคือการผ่าตัดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะของริดสีดวงทวาร และสภาวะทั่วไปของผู้ป่วย