
ยามือสอง เภสัชกรมือหนึ่ง และแผ่นดินชายขอบ
ยามือสอง เภสัชกรมือหนึ่ง และแผ่นดินชายขอบโครงการลดยาเหลือใช้ หรือ “ยาขยะ” ของโรงพยาบาลดําเนินงานทั้งภายในกล่าวคือรับยาคืนจากผู้ป่วยประจําของโรงพยาบาลเอง และคู่ขนานไปกับการรับบริจาคยาขยะจากบุคคลภายนอก![]()
ตัวอําเภออุ้มผางเมื่อมองจากชั้น 4 ของโรงพยาบาล ถูกโอบอุ้มด้วยเทือกเขา ลักษณะภูมิประเทศ เป็นอุปสรรคให้หมู่บ้านต่างๆ อยู่ห่างไกลจากตัวอําเภอออกไปอีก บางหมู่บ้านรถยนต์เข้าได้เฉพาะในฤดูแล้ง
ประชากรส่วนใหญ่ในอําเภออุ้มผางเป็นชาวกะเหรี่ยง ซึ่งอาศัยอยู่ในป่าห่างไกลจากหน่วยงานรัฐ จึงไม่มีการแจ้งเกิด ทําให้มีปัญหาสัญชาติ และไม่ได้รับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
พึ่บ! ทันทีที่ฝากระดาษลังถูกเปิดออก อากาศเย็นก็โชยเข้ามาแทรกความคับแคบภายใน กล่องที่จ่าหน้าถึง “ผู้อํานวยการโรงพยาบาลอุ้มผาง” ให้ผ่อนคลายลง ทุกๆ วันจะมีพัสดุในลักษณะ เดียวกับของฉันถูกส่งมาจากทั่วประเทศกองพะเนินอยู่หน้าห้องธุรการของโรงพยาบาลแห่งนี้ ฉันเดินทางจากกรุงเทพฯ ขึ้นมาทางทิศเหนือตามถนนพหลโยธิน เลี้ยวซ้ายผ่านจังหวัดตาก เลยตัวเมืองมาถึงแยกก่อนเข้าอําเภอแม่สอด แล้วเหวี่ยงตัวไปมาตามโค้งถนนที่ลัดเลาะแนวภูเขาฝั่ง ตะวันตกอย่างไม่หยุดหย่อนราว 3 ชั่วโมงจึงมาถึงตัวอําเภออุ้มผาง ซึ่งตั้งอยตู่ รงขอบสันขวานทอง พอดีเป็นระยะทางรวมเกือบ700กิโลเมตรโดยรอบมีแต่ทิวต้นไม้สีเขียวที่ฉันไม่คุ้นตา บรรดาสิ่งของที่อยู่ภายในกล่องนอกจากยารักษาโรคพวกพ้องของฉันแล้วยังมผี ้าอ้อมสําหรับ เด็กผ้าห่ม และเสื้อผ้าที่ผู้คนส่งมาบริจาค ฉันจึงถูกแยกออกมาเพื่อส่งต่อไปยังฝ่ายเภสัชกรรมของ โรงพยาบาล ซึ่งขั้นตอนแรกผู้ช่วยเภสัชกรจะคอยคัดยาที่อยู่ในสภาพดีเก็บไว้ เองที่ฉันได้รู้จักกับภก.เทวฤทธิ์ ประเพชร หัวหน้าฝ่ายเภสัชกรรมโรงพยาบาลอุ้มผาง
ภก.เทวฤทธิ์ ประเพชร เป็นคนจังหวัดสงขลา บรรจุเป็นเภสัชกรที่รพ.อุ้มผาง ตั้งแต่จบการศึกษาในปี พ.ศ. 2542 ตามรอยนพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ ซึ่งในตอนนั้นเพิ่งได้รางวัลแพทย์ชนบทดีเด่นมาไม่นาน
เขาเล่าให้ฉันฟังว่าการรับบริจาคยานี้ มีจุดเริ่มต้นจากสัปดาห์เภสัชกรรมในปีพ.ศ.2553 ที่มีการรณรงค์เพื่อลดยาเหลือใช้ในครัวเรือน ซึ่งบ่อยครั้งที่ถูกซื้อมาเก็บไว้แล้วไม่ได้ใช้ หรือ ถูกจ่ายเกินจํานวนในทุกๆ ที่พบแพทย์จึงมียาเดิมสะสมเพิ่มมากขึ้นแต่ก็ดําเนินการอยู่เพียงแค่ภายใน ปีนั้นเพราะปีถัดมาๆ ก็มีการรณรงค์ในประเดน็ อื่นต่อทว่าภก.เทวฤทธิ์กลับเห็นตรงกันข้ามจึงเสนอ นพ.วรวิทย์ตันติวัฒนทรัพย์ ผู้อํานวยการโรงพยาบาล เพื่อสานโครงการนี้ให้ต่อเนื่องอย่างเป็นรูปธรรม มองดูประชาชนมากหน้าหลายตาที่เข้ามารับบริการในโรงพยาบาลจนล้นออกไปยังด้านนอกอาคาร แต่เสื้อผ้าและภาษาของพวกเขากลับต่างไปจากคนในเมืองที่ฉันจากมาอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากอําเภอ อุ้มผางอยู่ติดชายแดน จึงมีผู้คนหลากชาติพันธุ์อาศัยอยู่ในพื้นที่ ทั้งกะเหรี่ยง (ปกากะญอ และโพล่ว) ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ คนเมือง (คนไทยภาคเหนือ) ม้ง และคนเมียนมาร์ที่อาศัยอยในศูนย์อพยพ ทว่าไม่ใช่ทุกคนที่ได้รับสิทธิการรักษาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือ “บัตรทอง” เหมือนคนไทยทั่วไป ทั้งนี้เพราะพวกเขากว่า 5 หมื่นคนเป็นคนไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร ซึ่งบางส่วนยังรอการพิสูจน์สัญชาตอิ อยู่ ในขณะที่โรงพยาบาลไม่เคยปฏิเสธรักษาพวกเขาไว้รักษาตามหลักมนุษยธรรม ส่งผลให้ต้องแบกรับ ค่าใช้จ่ายสูงกว่างบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลกว่าปีละ 40 ล้านบาท โครงการลดยาเหลือใช้ หรือ “ยาขยะ” ของโรงพยาบาลดําเนินงานทั้งภายใน กล่าวคือรับยาคืนจาก ผู้ป่วยประจําของโรงพยาบาลเอง และคู่ขนานไปกับการรับบริจาคยาขยะจากบุคคลภายนอก ซึ่งในปัจจุบัน ได้ขยายความช่วยเหลือครอบคลุมถึงยาใหม่แกะกล่อง โดยให้ผู้สนใจบริจาคติดต่อกับผู้แทนบริษัทยาที่มี ความจําเป็นต้องใช้ได้โดยตรง
ยามือสองทั้งยาเม็ด ยาน้ํา ยาฉีด และยาใช้ภายนอกถูกส่งมาบริจาคให้กับโรงพยาบาลอุ้มผาง กว่า 1,700 ครั้งในปีเดียว (พ.ศ.2558) ส่วนมากเป็นยารักษาโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน
ภก.เทวฤทธิ์เล่าให้ฉันฟังถึงประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการนวี้ ่า ข้อแรกสุดทําให้ทราบ ปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยนํายามาคืน ก็เป็นหน้าที่ของเภสัชกรในการซักถามถึง สาเหตุที่ยาเหลือใช้ เป็นต้นว่า ผู้ป่วยอาจหายจากอาการป่วยแล้วจึงไม่ได้รับประทานยาต่อ ผู้ป่วยจําขนาดยาผิด ลืมรับประทานยา หรือรับประทานแล้วมีผลข้างเคียงเลยไม่ได้รับประทานยาต่อ จึงสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยแต่ละรายได้ตรงจุด ข้อสองทําให้ประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อยาของโรงพยาบาลมากถึง 1.4 ล้านบาทใน ปีงบประมาณที่ผ่านมา (พ.ศ.2558)โดยเฉพาะผู้ป่วยนับหมื่นคนที่ไม่มสี ิทธิการรักษาใดๆ อีกทั้งการ ที่ยาบางชนิดที่นําเข้าจากต่างประเทศถูกจ่ายให้กับผู้ป่วยทุกมิลลิกรัม ไม่ขาดตกบกพร่องไปก็ถือเป็น การรักษาดุลการค้าให้กับประเทศได้ ส่วนข้อสุดท้ายฉันเชื่อว่าใครก็คาดไม่ถึงว่านอกจากยาในสภาพดี จะถูกนําไปใช้ต่อแล้ว ยาที่หมดอายุหรือเสียสภาพไปซึ่งถูกคัดแยกไว้ก็จะถูกรวบรวมเพื่อส่งไปทําลาย ทิ้งด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่น ยาฆ่าเชื้อต้องกําจัดด้วยการเผาทําลาย ยาบางชนิดสามารถกําจัดได้ด้วยการ ฝังดิน ไม่ให้ปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม ครึ่งเดือนถัดมา...ฉันถูกจ่ายออกไปให้กับผู้ป่วยรายหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ห่างจากโรงพยาบาลลึกเข้า ไปในป่าเกือบ 1 วันเต็มด้วยรถจักรยานยนต์ ไม่น่าเชื่อว่าหมู่บ้านนี้กับกรุงเทพฯ ของฉันจะอยู่ในเขตแดน เดียวกัน เพียงแต่ว่าที่นี่คือตรงชายขอบแล้วนั่นเอง ที่ที่เทียนไขคือแหล่งแสงสว่างที่ใกล้มือที่สุดในยาม กลางคืน ฉันเห็นแล้วว่าจากจุดเริ่มต้นของประกายไฟของสภาเภสัชกรรมเมื่อ 6 ปีก่อน เทียนทุกเล่มย่อมถูก จุดติดขึ้นตามกระแส แต่จะมีเทียนสักกี่มากน้อยเล่มที่ไฟยังติดลุกโชติช่วงต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ ยามือ สองอย่างฉันที่เจ้าของได้เสียชีวิตลงไปแล้วคงไม่ได้เดินทางมาที่นี่ หากไม่มเี ภสัชกรมือหนึ่งคอยทําหน้าที่ อยู่ตรงนี้แม้ตัวเองจะไม่ใช่คนในพื้นที่ก็ตามที
เฮลิคอปเตอร์ของตํารวจตระเวนชายแดนบินข้ามผืนป่าตะวันตกลําเลียงเวชภัณฑ์ไปยังสุขศาลาพระราชทาน โรงเรียนตํารวจตระเวนชายแดนบ้านเลตองคุ ซึ่งหากเป็นชาวบ้านต้องขี่รถจักรยานยนต์ 1 วันเต็มๆ เพื่อเดินทางมารพ.อุ้มผาง
เรื่อง: ชนาธิป ไชยเหล็ก ภาพ: ฝ่ายเภสัชกรรม และชนาธิป ไชยเหล็ก
|