
เภสัชมีกี่สาขา ? เรียนยังไงบ้าง ? จบแล้วทำอะไร ? TAG : ร้านขายยาส่ง เปิดร้านขายยา ขายส่งยา ซื้อยาราคาส่ง ขายยาส่ง
เภสัชมีกี่สาขา ? เรียนยังไงบ้าง ? จบแล้วทำอะไร ?
ก่อนอื่นนะครับ เราก็ต้องรู้ก่อนว่าเภสัชมีกี่สาขา อะไรบ้าง แล้วแต่ละสาขาเรียนอย่างไร ทำอะไร ก่อนที่จะไปดูว่าทำงานอะไรครับ โดย ที่ผมเรียนน่ะนะ เภสัชจะแบ่งออกเป็น 2 สาขา เรียกสั้นๆ ว่า สาย Sci และสาย Care โดย 2 สายนี้ก็จะแตกต่างกันนะครับ 1. Pharmaceutical Science หรือ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม โดยสายนี้จะเน้นไปทางอุตสาหกรรม เชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครับ โดยจะเน้นตัวยา เคมีของยา แหล่งสำคัญของตัวยา การผลิตยา ครับ การเรียนนั้น ก็จะเน้นสูตรโครงสร้างยา สูตรทางเคมี และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์ การวิจัยยา การวิเคราะห์ และการสร้างยาครับพ้ม
2. Pharmaceutical Care หรือ กลุ่มวิชาบริบาลทางเภสัชกรรม ก็จะเป็นสายการศึกษาเชิงคลีนิกครับ หรือ การศึกษาที่เกี่ยวกับผู้ป่วย บุคคล ครับ เช่น พิษวิทยา ชีวเภสัชศาสตร์ เภสัชบำบัดโรคของระบบต่างๆ ในร่างกาย การบริการและการบริบาลทางเภสัชกรรมในโรงพยาบาล และ ร้านยา การปฏิบัติหน้าที่ทางสาธารณสุข การเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านยา เพื่อ แนะนำยาแก่แพทย์และเภสัชกร ครับ
การเรียน 6 ปี จะต้องเรียนอะไรบ้าง ? ในชั้นปีที่ 1-2 จะเป็นการศึกษาด้านเตรียมเภสัชศาสตร์ จะศึกษาในหมวดวิชาพื้นฐานทั่วไป ประกอบด้วยวิชาในด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพเบื้องต้น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์พื้นฐาน และ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ในชั้นปีที่ 3-4 จะเป็นการศึกษาวิชาเฉพาะทางเภสัชศาสตร์ จะศึกษาในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน ชีวเภสัชศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา สาธารณสุข หลักในการเกิดโรค และจุลชีววิทยา และศึกษาวิชาทางด้านวิชาชีพ ทฤษฎี ปฏิบัติการ และการฝึกงาน ประกอบไปด้วย เภสัชวิเคราะห์ เภสัชศาสตร์สัมพีนธ์ อาหารและเคมี โภชนาการศาสตร์ บทนำเภสัชภัณฑ์ เภสัชพฤกษศาสตร์ ชีวเภสัชกรรมและเภสัชจลนศาสตร์ เภสัชเวท เภสัชกรรมและการบริหารเภสัชกิจ เภสัชวิทยาและเภสัชวิทยาคลินิก นิติเภสัชและจริยธรรม พิษวิทยา เภสัชอุตสาหกรรม เภสัชเคมี และ การปฏิบัติฝึกงาน
ในชั้นปีที่ 5-6 จะเป็นการศึกษาในหมวดวิชาสาขาที่นักเรียนสนใจเน้นความชำนาญทางวิชาชีพ มีให้เลือก 2 สาขา คือ
-สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ ( สายผลิต ) โดยศึกษาในชั้นปีที่ 5 จะเน้นศึกษาในด้านการผลิตยา การค้นคว้าตัวยา และควบคุมคุณภาพมาตรฐานของยา รวมถึงการวิจัยยาและคิดค้นสูตรยาใหม่ๆ เภสัชกรทางด้านสาขานี้เหมาะกับสายงานในด้านการผลิต ซึ่งส่วนมากจะทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยา
-สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม ( สายคลินิก ) จะเน้นในการศึกษาด้านการบริบาลเภสัชกรรมมากขึ้น ในด้านการใช้ยาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วย การแนะนำปรึกษาการใช้ยาที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วย และการสร้างเสริมสุขภาพ โดยจะศึกษาเนื้อหาเพิ่มอีก 1 ปี เภสัชกรทางด้านสาขานี้เหมาะกับสายงานในด้านการบริบาล ซึ่งอาจจะทำงานในโรงพยาบาล คลินิก ร้านยา สถานบริการสุขภาพ
ก็สั้นๆ นะครับ สำหรับเภสัช 2 สาขานี้้ โดยบอกก่อนว่าการเรียนนั้นจะต่างกัน ซึ่งเราจะได้เลือกสาขากันตอนปี 4 (สำหรับผมก็อีกนานน =0=) ซึ่งไอ้การเลือกสาขานี้เราก็ต้องค้นหาตัวเอง (อีกล่ะ) ว่าเราจะเหมาะกับสายใด
จบเภสัชมาแล้ว ทำงานอะไรได้บ้าง ? - ตัวอย่างงานสาย CARE เช่น เป็นเภสัชตามโรงพยาบาล เปิดร้านขายยา เภสัชกรชุมชน เภสัชกรการตลาด เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค หรืออาจจะรับราชการในกระทรวงทางด้านอาหารและยา และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ฯลฯ - ตัวอย่างงานสาย SCI เช่น เภสัชกรในอุตสาหกรรม เภสัชกรฝ่ายผลิตยา เภสัชกรแผนกควบคุมมาตรฐานของตัวยา เภสัชกรฝ่ายการวิจัยคิดค้นตัวยา หรือรับราชการในกระทรวงทางด้านอาหารและยา หรือ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ฯลฯ
นอกจากนี้ก็จะเป็นสายอาชีพอื่นที่เกี่ยวกับยาด้วยครับ เช่นเป็น detail ยา หรือเจ้าหน้าที่ตามบริษัทเครื่องสำอางนั่นเองครับ .. สำหรับบทความนี้ ก็จะแสดงให้เห็นว่าเภสัชนั้นไม่ได้มีแค่งานที่ทำตามโรงพยาบาล หรือร้านขายยา นะครับ ดังนั้น เราก็ควรที่จะเลือกงานตามความถนัดของเรา ก็จะทำให้เรามีความสุขในการทำงานครับ บทความนี้ก็ขอจบเพียงแค่นี้คร้าบบ แล้วเจอกันใหม่บทความหน้าครับ บ๊ายย บายยยย
ขอบคุณข้อมูล : nutdekpharm , dek-d See more at: http://www.theactkk.net
|