ReadyPlanet.com
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 12 คน
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
dot

ราคาสินค้า
หมวดสินค้า
ยี่ห้อสินค้า

  [Help]
dot
สินค้าทั้งหมด
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
 ยาอม/ยาดม/ยาหม่อง
ควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนัก
ว่านหางจระเข้ Aloe Vera เจลว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้รักษาสิว ครีมว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้ทาหน้า สรรพคุณว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้พอกหน้า
ผลิตภัณฑ์สำหรับแม่และเด็ก
ให้เช่าพื้นที่โฆษณาโดยร้านขายยาคลีนิกยาเว็ปไซต์อันดับหนึ่งจัดอันดับโดย google.co.th


KAL-G 150 G (เสริมกระดูกอ่อน)icon  
รหัสสินค้า : 1022001
ชื่อการค้า : KAL-G 150 G (เสริมกระดูกอ่อน)
ชื่อสามัญ/ส่วนประกอบสำคัญ : KAL-G 150 G (เสริมกระดูกอ่อน)
ราคาปกติ :  750.00 บาท      
ถูกที่สุดเพียง :  600.00บาท

ข้อบ่งใช้ :
เป็นวิทยาการใหม่ของอาหารบำรุงข้อที่อยู่ในรูปผงชงดื่ม
รายละเอียดทั้งหมด :

Kal-G 150 grams แคล-จี เป็นวิทยาการใหม่ของอาหารบำรุงข้อที่อยู่ในรูปผงชงดื่ม รสผลไม้ มีส่วนประกอบ หลักที่สำคัญ คือ โปรตีน คอลลาเจน ไฮโดรไลเซท ที่ให้ Collagen Type IIเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ นักกีฬาที่มี ปัญหาปวดข้อ หรือผู้ที่รักสุขภาพ

 

Collagen Hydrolysate คืออะไร

  คือโปรตีนที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนหลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ ไกลซีน โปรลีน และไฮดรอกซี่โปรลีน มีโครงสร้างแตกต่างกันตามแต่ชนิดของCollagen สำหรับCollagenที่ใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อมจะเป็นcollagenType II มีความสำคัญในการเสริมสร้างเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนบริเวณข้อมากกว่าType อื่น ๆ

 

คอลลาเจน ไฮโดรไลเซท ที่ให้ Collagen Type II ช่วยโรคข้อเสื่อมได้อย่างไร

 ผลการวิจัยและทดลองทางคลินิคมานานกว่า 20 ปี พบว่า การรับประทาน Collagen Hydrolysate  (Type II) มีผลดีต่อโรคข้อเสื่อม เนื่องจากเป็น Collagenชนิดเดียวกับที่พบในเซลล์กระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อ เมื่อรับประทานอย่างต่อเนื่อง จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของเซลล์กระดูกอ่อนที่สึกกร่อนไป และกระตุ้นให้มีการสังเคราะห์เซลล์ใหม่เพิ่มขึ้น จึงช่วยให้ลดอาการปวดข้อ

ข้อมีความยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ลดการใช้ยาแก้วปวด และยาต้านการอักเสบ

 

เราสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงเมื่อรับประทาน Collagen Hydrolysate ได้อย่างไร

 ในรายที่ข้อเสื่อม มีอาการข้อยึดหรือการเคลื่อนไหวไม่สะดวก และปวด การรับประทาน Collagen Hydrolysate วันละ 10 กรัม จะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง คืออาการปวด ข้อยึดน้อยลงได้ภายในเวลา 6 – 12 สัปดาห์

 

ควรรับประทาน Collagen Hydrolysate ( Type II ) อย่างไร

สำหรับคนที่เป็นโรคข้อเสื่อม ควรรับประทาน วันละ 10 กรัม อย่างน้อย เดือน ส่วนผู้ที่ต้องการรับประทานเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของข้อ ควรทานอย่างน้อยวันละ 5 – 7 กรัม ปัจจุบันรูปแบบของCollagen Hydrolysate ( Type II ) จะอยู่ในรูปผงชงดื่ม ผสมสารแต่งกลิ่นและรสโดยชงน้ำเย็นดื่ม ก่อนหรือหลังมื้ออาหาร

 

การรับประทาน Collagen Hydrolysate มีความปลอดภัยหรือไม่

 สารตัวนี้เป็นโปรตีนซึ่งจัดเป็นอาหาร ไม่ใช่ยาจึงมีความปลอดภัยสูง สามารถรับประทานได้ทั่วไป ยกเว้นผู้ป่วยโรคไต ที่ต้องการจำกัดโปรตีนที่ไม่ควรใช้

 

นอกจากผู้มีปัญหาโรคข้อเสื่อมแล้ว Collagen Hydrolysate ยังมรประโยชน์อื่นอีกหรือไม่

 ประโยชน์ของ Collagen Hydrolysate นอกจากจะช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนแล้ว ในผู้ที่มีปัญหากระดูกพรุนเช่น ในผู้หญิงวัยทอง ที่จำเป็นต้องเสริมแคลเซี่ยม และใช้ยาที่ป้องกันการสลายของแคลเซี่ยมจากกระดูก เมื่อรับประทาน Collagen Hydrolysate ร่วมด้วย พบว่ามีผลทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น และลดการสลายแคลเซี่ยมจากกระดูกได้ดีกว่าการใช้ยาเพียงอย่างเดียว ส่วนประโยชน์อื่น ๆ ที่ได้รับในผู้ที่รับประทาน Collagen Hydrolysate คือ ทำให้เส้นผมหนาขึ้น ผิวและเล็บแข็งแรงขึ้น

 

วิธีรับประทาน : ผสมแคล-จี 2 ช้อนตวง ในน้ำครึ่งแก้ว (100 มิลลิลิตร) คนและรอจนสารละลายใส
                            
ดึ่มวันละ ครั้ง หลังอาหาร เช้า – เย็น

 

โรคข้อเสื่อมคืออะไร

เป็นโรคที่เกิดกับเนื้อเยื่อบริเวณกระดูกอ่อน ( cartilage ) ที่หุ้มอยู่ปลายกระดูกของแต่ละข้อมีการสึก ทำให้เวลาผู้ป่วยเคลื่อนไหว กระดูกจะเสียดสีกัน เกิดอาการปวด บวม แดง ร้อน เมื่อเป็นมากขึ้นจะมีกระดูกงอกเข้าในข้อ และมีเศษกระดูกลอยอยู่ในข้อ จะทำให้เกิดอาการปวดข้อมากยิ่งขึ้น และเคลื่อนไหวลำบาก

 

ลองสังเกตดูทานมีอาหารเหล่านี้หรือไม่

ในรายที่เริ่มเป็นโรคข้อเสื่อมอาจตรวจไม่พบความผิดปกติ ในรายที่เป็นมานานจะเริ่มมีโครงสร้างของข้อผิดปกติ ควรเริ่มสังเกตอาการและรักษาแต่แรก เพราะยิ่งทิ้งไว้นาน อาการปวดและทรมานจะยิ่งมากขึ้น จนถึงข้อเสื่อมถาวรต้องได้รับการผ่าตัด  อาการข้อเสื่อมมีดังนี้      

1.ข้อบวมหรือข้อโตขึ้น โดยเฉพาะข้อนิ้วมือเหมือนมีกระดูกงอก

2.กดเจ็บ ในรายที่มีข้ออักเสบปวดขณะเคลื่อนข้อหรือเวลากดกระดูกข้างข้อที่โตแล้วเจ็บ มีอาการบวม แดง ร้อนกดเจ็บ

3.มีเสียงดังในข้อขณะเคลื่อนไหว เหมือนผิวของกระดูกเสียดสีกัน

4.องศาการเคลื่อนไหวของข้อลดลง เมื่อทิ้งไว้นานการเคลื่อนไหวของข้อยิ่งลดลงมาก ทำให้สูญเสียการทำงาน เช่นไม่สามารถเหยียดนิ้วให้ตรงได้ ไม่สามารถเหยียดข้อเข่าให้ตรงได้ เวลาเดินมีเสียงดังกรอบแกรบ

5.ข้อผิดรูปหรือพิการ เช่นข้อเข่าโก่ง ข้อเข่าบิดเกไปด้านใดด้านหนึ่ง

6.ความมั่นคงของข้อเสียไป เช่นข้อหลวม

7.การเดินผิดปกติ เช่นเดินกระเผลก

8.กล้ามเนื้อรอบข้อลีบเล็กลง ในรายที่เป็นโรคข้อเสื่อม ผู้ป่วยไม่ใช้ข้อจากที่มีอาการปวด ทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อลีบเล็กลง

9.มีอาการของข้อฝืด เช่นนั่งท่าเดียวนาน ๆ จะมีความรู้สึกฝืด เคลื่อนไหวไม่คล่อง เช่น โรคข้อเสื่อมที่ข้อนิ้วมือ จะกำมือลำบาก ผู้ป่วยที่ข้อเข่าเสื่อมจะมีอาการข้อแข็งเวลาอยู่ท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ เช่น นั่งรถเดินทางเป็นเวลานาน เวลาลงจากรถไม่สามารถงอเข่าได้ ต้องพักสัก 1–2 นาทีพร้อมงอเข่าไปมา จึงสามารถลุกเดินได้

 

 

Health Impact 


จำนวน      หน่วย