จาก : http://www.cookiecoffee.com
ใครที่เคยไปเที่ยวญี่ปุ่นด้วยตัวเองคงเคยแวะ “ร้านสะดวกซื้อ [Convenience Store]” ที่มีเต็มประเทศนี้,
เอาแค่ 7 Eleven ก็มีถึง 16000 สาขา [ถ้านับ Lawson ด้วยก็เพิ่มเข้าไปอีก 12000 สาขาและ Family Mart อีก 11200 สาขา]
นอกจากนี้ก็ยังมี Supermarket ขนาดเล็กที่ขายผักสดและผลไม้ทั่วทุกมุมเมืองอย่าง Aeon
แถมด้วย “ร้านร้อยเยน” ที่ขายของเหมือน Convenience Store แต่ถูกลงอีกระดับ อาทิ Lawson 100
และแน่นอน, 7 Eleven ที่ญี่ปุ่นมีทั้งห้องน้ำให้ใช้ฟรี / ไปรษณีย์ / 7 Bank & ATM / กาแฟและตู้กด Slurpee !
แล้ว “โชว์ห่วย” หรือร้านขายของชำในญี่ปุ่นเขาอยู่กันอย่างไร… (メ`ロ´)/!
1. การรวมตัวกันของโชว์ห่วย / ร้านขายผักและสารพัดสิ่ง
นอกจากจะต้องต่อสู้กับ 7 Eleven / Lawson / Family Mart แล้ว, ร้านขายของชำเล็กๆ ไปจนถึงร้านขายของสดก็ยังต้อง
ต่อกรกับ Supermarket และห้างใหญ่แต่วิธีหนึ่งที่ร้านพวกนี้ใช้ก็คือ “การรวมตัวกันในท้องถิ่น”
อาทิเช่น มีบัตรสะสมแต้ม [ไม้ตายมาตรฐานคนญี่ปุ่น (o^∀^)], ที่ทุกร้านจับมือกันพร้อมใจ…
ซื้อ Snack ในร้านโชห่วย A ก็ได้ดาว, ไปซื้อผักที่ร้าน B ก็มีคะแนนและเมื่อสะสมแต้มครบก็แลกของ
7 Eleven ไม่ได้มีสินค้าครบทุกสิ่งเท่าร้านโชว์ห่วย + ร้านผัก + ร้านผลไม้ + ร้านขายยา + ร้าน C + ร้าน D + ร้าน Z
เรียกง่ายๆ ก็คือ ทุกร้านรวมกันเป็น “Supermarket” ที่มีความเป็นเอกเทศ
โดยอาศัยความเชื่อใจ, อัธยาศัยและรอยยิ้มของคนในท้องถิ่นที่มีให้กันมายาวนานนั่นเอง
2. ปรับปรุงความสะอาด / มาตรฐานของสินค้าและบริการ
ข้อนี้อาจง่ายกว่าไทย เพราะไม่ว่าอย่างไร, ญี่ปุ่นก็คือญี่ปุ่น
ความสะอาดต้องมีอยู่แล้วและตั้งแต่ผมไป Backpack ประเทศนี้มาสิบกว่าหน [จนมีแฟนเป็นสาว Kyoto],
บอกได้เลยว่ายังไม่เคยโดนโกงสักครั้งแต่ถ้าเข้าร้านโชว์ห่วยไทย…, ไม่มีใครรับประกันได้ว่าผมจะไม่โดนอาแปะด่าและไม่โดนอาม่าโกง
อีกสิ่งหนึ่งที่ผมประทับใจในการทอนเงินของคนญี่ปุ่นก็คือการที่เขาหยิบธนบัตรมานับทีละใบให้เราเห็น
เป็นเรื่องที่ผมว่าร้านโชว์ห่วย [หรือร้าน Chain / Franchise ใดๆ] เองก็น่าจะทำได้
เพราะในความเป็นจริง, พนักงานก็ต้องนับอยู่แล้วแต่เพิ่มมาแค่การแสดงให้เห็นชัดๆ เท่านั้น
ในฐานะลูกค้า, ผมไม่ได้รัก CP & 7 Eleven อะไรแต่ก็ไม่อยากจ่ายเงินให้สินค้าหมดอายุในโชว์ห่วยเหมือนกัน
3. บริการส่งถึงบ้าน
บางครั้งคนญี่ปุ่นที่เราเห็นว่าขยันสุดๆ, ก็ขี้เกียจอย่างเหลือเชื่อ…
ตอนผมไปพัก Hostel เล็กๆ ที่ Sendai, ก็มีร้าน Gyoza & Ramen ใกล้ๆ ที่พร้อมส่งอาหารถึงบ้านและร้านเขาก็มีสินค้า
กระจุกกระจิกอย่างพวกเหล้าเบียร์ / ขนมซองๆ / กับแกล้มไปจนถึงของใช้ประจำวันซึ่งทุกอย่างสามารถปั่นจักรยานมาส่งได้หมด
เมืองไทยเรายิ่งกว่าเพราะอากาศมันร้อน, ซึ่งนั่นก็คือสาเหตุหนึ่งที่คนหนีเข้าไปหาแอร์ใน 7 Eleven
อย่างในหมู่บ้านผม, ก็มีร้านอาหารตามสั่งเจ้าหนึ่งที่ขายดีกว่าใครเพราะมี Delivery ด้วยจักรยานเช่นกัน
ฟังดูไร้สาระแต่ผมขอบอกว่าตอนนี้ 7 Eleven ที่ Tokyo ก็เริ่มใช้แนวคิด “จักรยานไฟฟ้า” ส่งของแล้ว
เพราะญี่ปุ่นมีลักษณะเป็นสังคมผู้สูงอายุมากขึ้น, การเดินมาซื้ออาจเริ่มไม่สะดวกเท่าส่งถึงบ้านครับ
4. สร้างจุดดึงดูดลูกค้าเพิ่มเติม
ตามทฤษฏีก็อาจเป็นตู้เติมเงิน / เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญหรือขายอาหาร
แต่ผมเคยเจอร้านโชห่วยที่ฆ่าได้แม้กระทั่ง 7 Eleven ด้วยวิธีแสนง่าย…
เพราะว่าลูกสาวเจ้าของร้านน่ารัก / ยิ้มเก่ง / คุยสนุก / อัธยาศัยดีและที่สำคัญคือมี “น้องแมวส้ม” ตัวกลมขนฟูชอบนอนตัว
อืดอยู่บนตู้กระจกใส่ของซึ่งตั้งอยู่ลึกเข้ามาครึ่งร้าน, แถมมันยังชอบร้องแง๊วๆ ใส่ลูกค้าที่เดินเข้ามาอีกต่างหาก !
ไม่น่าเชื่อ, แต่ทุกคนที่เดินผ่านร้านนี้จะต้องเข้าไปเล่นกับน้องแมวแล้วก็ซื้ออะไรสักอย่าง
เป็นความน่ากลัวระดับเดียวกับตอนที่ Tim Cook ประกาศว่า “Apple Pay พร้อมใช้แล้ว !”
คือประชาชนชาว American ต่างพากันไป Starbucks เพื่อสั่งกาแฟอะไรสักอย่างที่จริงๆ ไม่ได้อยากทาน
“แมวนางกวัก” คำนี้มีจริงนะครับ (=ↀωↀ=)
ผมเคยเขียน Blog เรื่อง “เมืองไทย 2015 กับ 4 หลักฐานที่บอกว่าโลกไม่ได้อยู่ยากขึ้น“, ซึ่งจริงๆ มันก็คือการยกตัวอย่างว่า
“ร้านสะดวกซื้อทำให้ชิวิตเราง่ายขึ้นขนาดไหน ?” ด้วยการมีอาหารขายใกล้บ้านตลอด 24 Hr
หรือบางครั้งเวลาที่ผมขับรถหลงทางแล้วเจอ 7 Eleven จะรู้สึก “ปลอดภัย” ขึ้นในทันทีเพราะไฟที่สว่าง
ผมเชื่อว่าแม้จะต่อต้าน 7 Eleven ขนาดไหนก็ไร้ค่า [ต่อให้พิสูจน์ได้ว่า 7 Eleven ผิดนั่นโน่นนี่แล้วยังไง ?]
เพราะที่สุดแล้ว, คนเราไม่ว่าใครก็ต้องเลือกความสะดวกสบายและ 7 Eleven ก็ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นจริงๆ
สิ่งที่ต้องทำคือ หาทางรอดในสถานการณ์เช่นนี้มากกว่า
อย่างแถวบ้านผมก็มี 7 Eleven สาขาหนึ่งใหญ่ขนาด 3 ห้อง, แน่นอนว่าเขามีขาย “ข้าวเหนียวหมูปิ้ง”
แต่ทุกๆ วันจะมีร้านข้าวเหนียวหมูปิ้งรถเข็นมาจอดหน้า 7 Eleven ประจำพร้อมลูกค้ามหาศาล
เพราะลุงรถเข็นหมูปิ้งแกรู้ว่า “ของแช่แข็งไม่อร่อยเท่า” และแกก็ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าใดๆ ในการเข็นรถผ่านไปมา,
เรียกว่าเหนือกว่า “ธนินท์ เจียรวนนท์” ก็คือ “ลุงรถเข็นหมูปิ้ง” คนนี้ ที่ใช้กระทั่งไฟฟ้าและดึงลูกค้าของ 7 Eleven ไปฟรีๆ !
ไม่ต้อง Anti, แต่เหยียบร้าน CP ขายของมันซะเลย [จริงๆ ลุงแกอาจเคยเป็น CEO ของ Walmart มาก่อน…]
TAG : ร้านขายยาส่ง เปิดร้านขายยา ขายส่งยา ซื้อยาราคาส่ง ขายยาส่ง