ที่ตรวจการตั้งครรภ์ คืออะไรแล้ว วัดจากอะไร ถึงรู้ว่าท้อง
ที่ตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตนเอง คือ การทดสอบหาฮอร์โมนHCG (Human chorionic gonadotropin) ในปัสสาวะ ซึ่งหากตั้งครรภ์ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากรกจะเริ่มผลิตหลังจากที่มีการปฏิสนธิไปแล้ว 6 วัน และจะขึ้นสูงสุดในช่วง 8 – 12 สัปดาห์ เรียกว่า มีความแม่นยำมากถึง 90 % ทีเดียว และสามารถตรวจได้ในผู้ที่ประจำเดือนขาดตั้งแต่วันที่ 10 – 14 ขึ้นไป
ที่ตรวจการตั้งครรภ์มีกี่แบบ
แบบที่ 1 ที่ตรวจครรภ์ แบบแถบจุ่ม ( Test Strip)
จะประกอบไปด้วย แผ่นทดสอบการตั้งครรภ์ (แผ่นตรวจครรภ์) และถ้วยตวงปัสสาวะ (อาจจะถ้วยตวงปัสสาวะมาให้หรือไม่มีก็ได้)
วิธีการทดสอบ
1. ให้เก็บปัสสาวะลงในถ้วยตวง
2. นำแผ่นทดสอบการตั้งครรภ์ด้านที่มีลูกศรชี้ลง จุ่มลงในถ้วยปัสสาวะที่เตรียมไว้ จุ่มกระดาษลงในถ้วยปัสสาวะเพียง 3 วินาทีเท่านั้น
3. ระวังอย่าให้น้ำปัสสาวะเลยขีดที่กำหนดในแผ่นทดสอบเพราะจะทำให้แผ่นทดสอบหมดประสิทธิภาพการทำงาน
4. นำแผ่นทดสอบออกจากถ้วยปัสสาวะ ถือไว้สักพักหรือวางไว้ในแนวนอน และต้องวางในพื้นที่แห้งสนิทเท่านั้น
5. รออ่านผลการทดสอบการตั้งครรภ์ภายในเวลา 1 – 5 นาที แต่ทางที่ดีควรรอจนกว่าจะครบ 5 นาที เพื่อให้ผลแสดงออกมาอย่างถูกต้อง
6. ข้อดีของที่ตรวจครรภ์แบบแถบจุ่ม คือ มีราคาถูกใช้งานง่ายราคาประหยัด
ที่ตรวจตั้งครรภ์ราคาพิเศษ: 40.00 บาท ส่งถึงบ้าน
|
ที่ตรวจตั้งครรภ์ราคาพิเศษ: 80.00 บาท ส่งถึงบ้าน
|
ที่ตรวจตั้งครรภ์ราคาพิเศษ: 60.00 บาท ส่งถึงบ้าน
|
แบบที่ 2 ที่ตรวจครรภ์ แบบตลับหรือแบบหยด (Pregnancy Test Cassette)
จะประกอบไปด้วย ตลับทดสอบการตั้งครรภ์ ถ้วยตวงปัสสาวะ และหลอดหยดสำหรับดูดน้ำปัสสาวะ
วิธีการทดสอบ
1. เก็บปัสสาวะลงในถ้วยตวง แล้วนำหลอดหยดดูดน้ำปัสสาวะที่ได้ในปริมาณที่พอเหมาะ
2. หยดน้ำปัสสาวะลงบนตลับทดลองที่วางไว้บนพื้นประมาณ 3 – 4 หยด ไม่ควรหยดมากกว่านี้
3. วางชุดทดสอบนี้ไว้ประมาณ 5 นาที เพื่อดูผลการทดสอบ
4. ข้อดีของที่ตรวจครรภ์แบบนี้ คือ ลดโอกาสของแผ่นทดสอบที่จะเสื่อมสภาพ
ที่ตรวจตั้งครรภ์ราคาพิเศษ: 70.00 บาท ส่งถึงบ้าน
|
ที่ตรวจตั้งครรภ์ราคาพิเศษ: 90.00 บาท ส่งถึงบ้าน
|
ที่ตรวจตั้งครรภ์ราคาพิเศษ: 50.00 บาท ส่งถึงบ้าน
|
แบบที่ 3 ที่ตรวจครรภ์ แบบปัสสาวะผ่าน (Pregnancy Midstream Tests)
ที่ตรวจครรภ์จะมีแค่แท่งทดสอบการตั้งครรภ์หรือแบบปากกา
วิธีการทดสอบ
1. ถอดฝาครอบออกพร้อมกับถือแท่งทดสอบ โดยให้หัวลูกศรชี้ลงค่ะ
2. ปัสสาวะโดยให้น้ำปัสสาวะผ่านบริเวณที่ดูดซับน้ำปัสสาวะ ซึ่งจะอยู่ต่ำกว่าลูกศรต้องให้เปียกชุ่มนะคะ
3. ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที โดยถือแท่งไว้หรือวางในบริเวณที่แห้งสนิทในแนวราบ
4. รออ่านผลการทดสอบได้ตั้งแต่ประมาณ 30 วินาทีเป็นต้นไป แต่ทางที่ดีควรรอประมาณ 5 นาที เช่นเดียวกับที่ทดสอบชุดอื่น ๆ เพื่อความแน่นอนของผลการทดสอบ
5. ข้อดีของที่ตรวจครรภ์คือ ใช้งานได้สะดวกไม่ต้องเก็บน้ำปัสสาวะในถ้วยลดขั้นตอนในการทดสอบ
อ่านผลตรวจการตั้งครรภ์อย่างไงหลังจากตรวจแล้ว
Credit ภาพ : http://www.conceiveeasy.com
ตามปกติชุดทดสอบการตั้งครรภ์ที่ซื้อมาทั่วไปจะบอกวิธีการใช้และวิธีการอ่านผลการทดสอบระบไว้พร้อมรูปตัวอย่าง แนะนำว่าการอ่านผลที่เหมาะสมควรรอประมาณ 5 นาที เพราะถ้าทิ้งไว้อาจมีอีกขีดปรากฎขึ้นมา ซึ่งผลจะไม่แน่นอนแล้วหากเป็นเช่นนั้น โดยขีด C คือ Control Line ส่วนขีด T คือ Test Line
1. ตรวจแล้วขึ้น 1 ขีด ขึ้นที่ขีด C อย่างเดียว คือ ได้ผลลบ แปลว่า “ไม่น่าจะตั้งครรภ์” หมายความว่า คุณอาจจะไม่ตั้งครรภ์ หรือ อาจจะตั้งครรภ์แล้วแต่ยังตรวจไม่พบก็ได้ อาจต้องทำการตรวจซ้ำในอีก 2 – 3 วันค่ะ
2. ตรวจแล้วขึ้น 2 ขีด หรือ ขึ้น 2 ขีด จาง ๆ ขึ้นที่ขีด C และ T คือ ได้ผลบวก แปลว่า “น่าจะมีการตั้งครรภ์” แต่ถ้าตรวจแล้วขีด T ขึ้นจาง ๆ ขอแนะนำว่าให้รออีก 2-3 วันแล้วค่อยตรวจใหม่ค่ะ
3. ตรวจแล้วไม่ขึ้นแถบสีหรือไม่ขึ้นสักขีด หรือ ขึ้น 1 ขีดบนตัว T คือ อ่านค่าไม่ได้ แปลว่า “ชุดทดสอบการตั้งครรภ์เสีย” เช่น การเก็บไม่ถูกวิธี การใช้ปัสสาวะเก่า เป็นต้น แบบนี้คุณจะต้องทำการตรวจใหม่อีกครั้ง
คำแนะนำในการซื้อที่ตรวจการตั้งครรภ์มาใช้
1. อ่านคำแนะนำและวิธีใช้ให้ถูกต้อง และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
2. การตรวจด้วยตนเองเป็นการตรวจสอบเบื้องต้นเท่านั้น ควรยืนยันผลการตรวจจากคุณหมออีกครั้ง
3. การตรวจปัสสาวะ ควรใช้ปัสสาวะหลังจากตื่นนอนตอนเช้าซึ่งจะให้ผลดีที่สุด แต่เวลาอื่นก็ได้ผลเหมือนกัน แต่สำคัญว่าต้องใช้ปัสสาวะใหม่เท่านั้น
4. ชุดทดสอบเมื่อซื้อมาแล้วสามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องตามปกติได้ (ไม่เกิน 30 องศา) หลีกเลี่ยงแสงแดด และความชื้น
5. เมื่อฉีกซองออกแล้ว ต้องตรวจทันทีจึงจะได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจถูกความชื้นได้จะทำให้ประสิทธิภาพในการตรวจลดลงหรือไม่แม่นยำ
6. ในการทดสอบซ้ำ ให้เว้นระยะห่างจากการทดสอบครั้งแรกอย่างน้อย 2-3 วัน
เมื่อทดสอบแล้วได้ผลว่าอาจจะตั้งครรภ์ แนะนำว่าควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจอีกครั้ง
อ้างอิงข้อมูลจาก : หนังสือคู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด. “การตรวจว่าตั้งครรภ์หรือไม่”. (ศ. (คลินิก) นพ.สุวชัย อินทรประเสริฐ). และ theasianparent.com